โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
หน้าหลัก
เวปไซด์ราชสีมาวิทยาลัย
ห้องเรียนภูมิศาสตร์
ห้องเรียนเศรษฐศาสตร์
ห้องเรียนพุทธศาสนา
=> ศาสนา หน่วยที่ 1
=> ศาสนา หน่วยที่ 2
=> ศาสนา หน่วยที่ 3
ห้องเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
ห้องเรียนพลศึกษาครูกมล
ห้องเรียนญี่ปุ่น ครูทิพย์วรรณ
วันแห่งความรัก
Games Room :Tic Tac Toe
สมุดเยี่ยม
บอร์ดคุยกับครูปานใจ
ร.ส. แชทรูม
สะเก็ดข่าว ชาวแสด-ขาว
Gallery Picture
ส32101(เศรษฐศาสตร์)
ครูดีเด่น

BANGKOK TIME
Hit Counter by Digits
ห้องเรียนพุทธศาสนา
animated gifs  

 animated gifs

สวัสดีค่ะ  
         ลำดับแรก  ครูขอแนะนำให้ทุกคนรู้จัก  ห้องเรียนพระพุทธศาสนา ที่มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย  นะคะ ...ศึกษาเรื่องพระไตรปิฏกแล้ว ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องอื่นๆ  ได้ด้วยค่ะ
                 


                                   
ครูปานใจ

ห้องเรียนศาสนาที่มหาจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.....animated gifs
 
  ความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎก l ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก l พระไตรปิฎกวิจารณ์ l บทความพระไตรปิฎก  
 
หน้าหลัก
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก
   
ดร.ประมูล สารพันธ์
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์

นิยามและองค์ประกอบของพระไตรปิฎก
        พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์หลักของพระพุทธศาสนา คำว่า “ไตรปิฎก” ตามรูปศัพท์ มาจากภาษาบาลีว่า “ติปิฏกํ” หรือ เตปิฎกํ” แยกออกเป็น ๒ ศัพท์ คือ ไตร หรือ ติ (แปลว่า สาม) + ปิฏก (ปิฎก แปลว่า ตะกร้า) เมื่อรวมความแล้ว “ไตรปิฎก” แปลว่า ปิฎกสาม แต่โดยนัยอรรถาธิบายแล้ว พระที่มีความเชี่ยวชาญในพระพุทธศาสนาหรือพระอรรถกถาจารย์ ได้ให้ความหมายของ “พระไตรปิฎก” ไว้ ๒ นัย คือ
         ๑) ปิฎก หมายถึง คัมภีร์ หรือตำรา ดังบาลีว่า มา ปิฎก-สมฺปทาเนนฯ แปลว่า อย่าเชื่อโดยการอ้างตำรา
         ๒) ปิฎก หมายถึง ภาชนะ (เช่น ตะกร้า) ดังประโยคบาลีว่า อถ ปุริโส อาคจฺเฉยฺย กุทฺทลปิฎกมาทายฯ ครั้งนั้น บุรุษคนหนึ่งถือจอบและตะกร้าเดินมา ดังนั้น คำว่า พระไตปิฎก ในที่นี้ จึงหมายถึง “คัมภีร์หรือตำราที่บรรจุคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า (และพระสาวกองค์สำคัญ) ไว้เป็นหมวดหมู่ ดุจดังภาชนะรองรับสิ่งของต่าง ๆ ให้สวยงาม”

animated gifs

ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
        ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันปรินิพพานพระองค์ไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดให้เป็นศาสดาสืบต่อจากพระองค์ นอกจากจะทรงประทานพุทธพจน์ที่เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของพระองค์ไว้ว่า พระธรรมและวินัยที่มีเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว นี่แสดงว่าในสมัยพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้นยังไม่มีพระไตรปิฎกบันทึกคำสอน
ดังที่เราทราบกันอยู่ในปัจจุบัน พุทธวจนะหรือคำสอนของพระพุทธเจ้ามีชื่อเรียกกันในสมัยนั้น ๒ อย่าง (เสฐียรพงฆ์ วรรณปก,๒๕๔๓:๔) คือ
        ๑. เรียก พฺรหฺมจริย (พรหมจรรย์) ดังพุทธวจน์ที่ตรัสเมื่อครั้งทรงส่งพระอรหันตสาวก ๖๐ รูป ไปเผยแผ่พระศาสนาครั้งแรกว่า
         จรถ ภิกฺขเว, จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย, อตฺถาย หิตาย สุขาย, เทวมนุสฺสานํ เทเสตุ ภิกฺขเว ธมฺมํ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ สาตฺถํ สพ?ชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ ปกาเสสิฯ
        ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พหูชน เพื่อความสุขแก่พหูชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายพวกเธอจงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
        ๒. เรียกว่า ธมฺมวินเย (ธรรมวินัย) ดังพุทธวจนะที่ตรัสแก่พระอานนท์ พุทธอนุชา ก่อนเสด็จดับขันฐปรินิพพานว่า
        โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ป?ฺ?ตฺโต. โส โว มมจฺจเยนฯ
        ดูกรอานนท์ ธรรมและวินัยใดที่ตถาคตแสดงไว้แล้ว บัญญัติไว้แล้ว ธรรมและวินัยนั้น จะเป็นศาสดาของพวกเธอ เมื่อตถาคตล่วงลับไปแล้ว
        ที่กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีการแบ่งพระพุทธวจนะไว้เป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน ยังไม่มีคำว่า “พระไตรปิฏก” หากแต่เรียกว่า           
       “ธรรมวินัย” การจัดหลักธรรมคำสอนเป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระบบหมวดหมู่ที่เรียกว่า “การทำสังคายนา” นั้น เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรก สมัยหลังพุทธปรินิพพานได้ประมาณ ๓ เดือน ที่เมืองปาฏลีบุตร ประเทศอินเดีย ซึ่งสมัยต่อมาก็ได้มีการทำสังคายนาขึ้นนอกประเทศอินเดียติดต่อกันมาประมาณ ๕ ครั้ง ได้แก่

       การสังคายนาครั้งที่ ๒ จัดทำขึ้นที่เมือง โดยมี เป็นประธาน มี เป็นผู้อุปถัมภ์ ใช้เวลาประมาณ เดือน/ปี
       การสังคายนาครั้งที่ ๓ จัดทำขึ้นที่เมือง โดยมี เป็นประธาน มี เป็นผู้อุปถัมภ์ ใช้เวลาประมาณ เดือน/ปี
       การสังคายนาครั้งที่ ๔ จัดทำขึ้นที่เมือง โดยมี เป็นประธาน มี เป็นผู้อุปถัมภ์ ใช้เวลาประมาณ เดือน/ปี
       การสังคายนาครั้งที่ ๕ จัดทำขึ้นที่เมือง โดยมี เป็นประธาน มี เป็นผู้อุปถัมภ์ ใช้เวลาประมาณ เดือน/ปี (ส่วนนี้ รอเพิ่มตัวเลข)

       
       พระพุทธวจนะแต่เดิมใช้วิธีการสืบทอดด้วยการท่องบ่นสาธยาย ต่อมาหลังการทำสังคายนาแล้วได้รับการจารึกหรือจารเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรคเมื่อประมาณ พ.ศ. ที่ประเทศศรีลังกา การกระทำสังคายนาที่ถือกันว่ามีผลทำให้เกิดคำเรียกการประมวลหลักพระธรรมวินัยว่า “พระไตรปิฎก” เกิดขึ้นเมื่อไรนั้น มีผู้รู้ได้แสดงทัศนะที่น่าสนใจหลายประการ เช่น

พระเมธีรัตนดิลก (๒๕๓๕ : ๙) ได้ให้ข้อสังเกตว่า

การสังคายนาครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ นี้มีเรื่องปรากฎในคัมภีร์จุลวรรคแห่งพระวินัยปิฎก ซึ่งนักปราชญ์สันนิษฐานว่า คงใส่เพิ่มเข้าไว้เมื่อทำสังคายนาครั้งที่ ๓ อนึ่ง ในหนังสือชั้นคัมภีร์บาลีพระไตรปิฎก ในสังคายนาครั้งที่ ๑ และ ๒ ไม่มีคำว่า “ปิฎก” เลย ใช้คำว่าสังคายนาพระธรรมวินัย หรือ วินัยวิสัชนา ธรรมวิสัชนา แต่มีคำอธิบายรายละเอียดในสมันตปาสาทิกา อรรถกถาวินัยปิฎก

ซึ่งสอดคล้องกับ เสฐียรพงษ์ วรรณปก (๒๕๔๓ :๙-๓๑) ที่กล่าวว่า

       “ถ้าอ่านประวัติการทำสังคายนาตั้งแต่ต้นจะสังเกตได้ว่า สังคายนาครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ เท่านั้นมีบันทึกอยู่ในพระไตรปิฎก คือมีอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ ข้อ ๖๑๔–๖๖๔ หน้า ๓๗๙–๔๒๓ วินัยปิฎก จุลวรรค นอกนั้นไม่มีกล่าวถึง และการกล่าวถึงสังคายนาทั้ง ๒ ครั้งนี้ ไม่ได้กล่าวถึง “พระไตรปิฎก” ใช้คำว่า “ธัมมวินัยสังคีติ” (การสังคายนาพระธรรมและวินัย) แสดงว่า พระพุทธวจนะนั้นยังไม่มีการจัดแบ่งเป็น”ปิฎก” หากเรียกรวม ๆ ว่า “ธรรมวินัย” เท่านั้น ต่อมาธรรมวินัยได้ขยายออกเป็น ๓ ส่วน แต่ละส่วนเรียกกันว่า “ปิฎก” คือธรรม ขยายเป็น สุตตันตปิฎก กับอภิธรรมปิฎก ส่วนวินัยคงเป็นวินัยปิฎก”
       เสฐียรพงษ์ วรรณปก (๒๕๔๓ :๑๐-๑๑) ได้สรุปเกี่ยวกับการจัดรูปแบบและประเภทของพระพุทธวจนะหรือพระธรรมวินัยดังกล่าว ดังต่อไปนี้
       ในศิลาจารึกที่ค้นพบที่สาญจิสถูป (ซึ่งจารึกไว้ในต้นพุทธศตวรรษที่ ๓ ก่อนสมัยพระเจ้าอโศก) มีรายนามผู้สร้างส่วนต่าง ๆ ของพระสถูปปรากฎอยู่ พร้อมกับคุณศัพท์แสดงคุณสมบัติของบุคคลนั้น ๆ เช่น
                             

ธมฺมกถิกา
เปฏกินฺ
สุตฺตนฺติกา
สุตฺตนฺติน
ีปฺจเนกายิการ
ผู้กล่าวธรรมทั้งหลาย
ผู้ทรงจำปิฎกทั้งหลาย
ผู้ทรงจำพระสูตร
สตรีผู้ทรงจำพระสูตร
ผู้ทรงจำนิกายทั้ง ๕

ในศิลาจารึกพระเจ้าอโศกซึ่งถูกค้นพบที่ ภาบรา มีข้อความอ้างถึงพระสูตรต่าง ๆ ที่พระเจ้าอโศกทรงพิจารณาเห็นว่าดี และทรงแนะนำให้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หมั่นสดับตรับฟังและพิจารณาใคร่ครวญเสมอ ๆ เช่น

อริยวํสานิ  
อนาคตภยานิ 
มุนีคาถา
โมเยยฺยสุตฺต
อุปติสฺสปสิน
วงศ์แห่งพระอริยะ ทั้งหลาย
ภัยในอนาคตทั้งหลาย
คาถาของพระมุนี
สูตรว่าด้วยความเป็นมุนี
ปัญหาของพระอุปติสสะ

 animated gifsanimated gifs
      คำแรกประกฎอยู่ในทีฆนิกาย สังคีติสูตร คำที่สองมีอยู่ในอังคุตตรานิกาย ปัญจกนิบาต คำที่สามปรากฎใน ขุททกนิกาย สุตตนิบาต คำที่สี่มีอยู่ทั้งใน อังคตตรนิกาย และขุททกนิกาย อิติวุตตกะ คำสุดท้ายหมายถึง ปัญหาของพระสารีบุตร มีทั่วไปในพระสูตรต่าง ๆ ไม่ทราบว่าพระเจ้าอโศกทรงเจาะจงเรื่องใด
      จากหลักฐานทั้งสองแห่งนี้ กล่าวได้ว่า หลังจากสังคายนาครั้งที่สองเป็นต้นมา พระพุทธวาจนะหรือพระธรรมวินัยถูกจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ในชื่อว่า “ปิฎก” และ “นิกายทั้งห้า”(ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย) แล้ว ระยะแห่งพัฒนาการของพระไตรปิฎกคงกินเวลายาวนานเกือบศตวรรษ กว่าจะลงตัวเป็นพระไตรปิฎกที่สมบูรณ์ และเชื่อว่าพอตกถึงรัชสมัยพระเจ้าอโศก พระไตรปิฎกคงสมบูรณ์ทุกคัมภีร์แล้ว ด้วยปรากฎหลักฐานบางแห่ง (อาทิ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยปิฎก) บอกว่า คัมภีร์กถาวัตถุ หนึ่งในจำนวนพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ได้ถูกรจนาและผนวกเข้าไว้ในอภิธรรมปิฎก โดยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เมื่อคราวทำสังคายนาครั้งที่สาม
      เหตุผลสนับสนุนอีกประการหนึ่งคือ ในพระไตรปิฎกไม่มีข้อความใดกล่าวถึงพระเจ้าอโศกเลย แสดงว่าพระไตรปิฎกสำเร็จเป็นรูปร่างสมบูรณ์แล้วก่อนสมัยพระเจ้าอโศกซึ่งก็สอดคล้องกับทัศนะของพระเทพโสภณ(ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระเมธีธรรมาภรณ์ ๒๕๓๕:๑๓๒) ที่กล่าวว่า “ในการสังคายนาครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองซึ่งจัดขึ้นใน พ.ศ.๑๐๐ ยังไม่มีการแบ่งพระธรรมวินัยเป็นพระไตรปิฎกอย่างชัดเจน การจัดประเภทพระธรรมวินัย เป็นพระไตรปิฎกอย่างชัดเจน การจัดประเภทพระธรรมวินัยเป็นรุปพระไตรปิฎก มีขึ้นในการสังคายนาครั้งที่ สาม ในพ.ศ.๒๓๕ จัดขึ้น ณ เมืองปาฏลีบุตร ประเทศอินเดีย
      พระไตรปิฎก ประกอบด้วยคัมภีร์สำคัญ ๓ ปิฎก คือ พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัย หรือข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม และการดำเนินการต่าง ๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระสูตร หรือเทศนาที่ตรัสแก่บุคคลต่าง ๆ ในเวลาและสถานที่ต่างกัน เป็นรูปคำสนทนาโต้ตอบบ้าง เป็นรูปร้อยกรองบ้าง ร้อยแก้วบ้าง ร้อยแก้วผสมร้อยกรองบ้าง ตลอดถึงเทศนาของพระสาวกองค์สำคัญ พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยหลักธรรมต่าง ๆ ที่อธิบายในแง่วิชาการล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคล หรือเหตุการณ์ ส่วนมากเป็นคำสอนด้านจิตวิทยา และอภิปรัชญาในพระพุทธศาสนา (เสฐียรพงษ์ วรรณมา, ๒๕๔๓ : ๓) เนื้อความทั้งหมดของพระไตรปิฎกจัดแบ่งเป็นหมวด ๆ หรือ ขันธ์ มีจำนวน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

 


ความสำคัญและคุณค่าของพระไตรปิฎก
      พระไตรปิฎกมีความสำคัญและคุณค่าสำคัญหลายประการ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), ๒๕๔๓: ๖๘–๗๑) ได้แก่ ดังนี้
      ๑. พระไตรปิฎกเป็นที่รวมไว้ซึ่งพระพุทธพจน์ อันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ตรัสไว้เอง ซึ่งตกทอดมาถึงสมัยพวกเรา ทำให้เรารู้จักคำสอนของพระพุทธเจ้าจากพระไตรปิฎกเป็นสำคัญ
      ๒. พระไตรปิฎกเป็นที่สถิตของพระศาสดาของพุทธศาสนิกชน เพราะเป็นที่บรรจุพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ให้เป็นศาสดาแทนพระองค์ เราจะเฝ้าหรือรู้จักพระพุทธเจ้าได้จากพระดำรัสของพระองค์ที่ท่านรักษากันไว้ในพระไตรปิฎก
      ๓. พระไตรปิฎกเป็นแหล่งต้นเดิมของคำสอนในพระพุทธศาสนา คำสอน คำอธิบาย คัมภีร์ หนังสือ ตำรา ที่อาจารย์และนักปราชญ์ทั้งหลายพูด กล่าวหรือเรียบเรียงไว้ที่จัดว่าเป็นของในพระพุทธศาสนา จะต้องสืบขยายออกมาและเป็นไปตามคำสอนแม่บทในพระไตรปิฎก ที่เป็นฐานหรือเป็นแหล่งต้นเดิม
      ๔. พระไตรปิฎกเป็นหลักฐานอ้างอิงในการแสดงหรือยืนยันหลักการที่กล่าวว่า เป็นพระพุทธศาสนา จะเป็นที่น่าเชื่อถือหรือยอมรับได้ด้วยดี เมื่ออ้างอิงหลักฐานในพระไตรปิฎก ซึ่งถือว่า เป็นหลักฐานอ้างอิงขั้นสุดท้ายสูงสุด
      ๕. พระไตรปิฎกเป็นมาตรฐานตรวจสอบคำสอนในพระพุทธศาสนา คำสอนหรือคำกล่าวใด ๆ ที่จะถือว่าเป็นคำสอนในพระพุทธศาสนาได้ จะต้องสอดคล้องกับพระธรรมวินัยซึ่งมีมาในพระไตรปิฎก (แม้แต่คำหรือข้อความในพระไตรปิฎกเอง ถ้าส่วนใดถูกสงสัยว่าจะแปลกปลอม ก็ตรวจสอบด้วยคำสอนทั่วไปในพระไตรปิฎก)
      ๖. พระไตรปิฎกเป็นมาตรฐานตรวจสอบความเชื่อถือและข้อปฎิบัติในพระพุทธศาสนา ความเชื่อถือหรือข้อปฏิบัติตลอดจนพฤติกรรมใด ๆ จะวินิจฉัยว่าถูกต้องหรือผิดพลาดเป็นพระพุทธศาสนาหรือไม่ ก็โดยอาศัยพระธรรมวินัยที่มีมาในพระไตรปิฎกเป็นเครื่องตัดสิน
      ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกจึงเป็นกิจสำคัญยิ่งของชาวพุทธ ถือว่าเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา หรือเป็นความดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนากล่าวคือ ถ้ายังมีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกเพื่อนำไปใช้ปฏิบัติ พระพุทธศาสนาก็ยังดำรงอยู่ แต่ถ้าไม่มีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก แม้จะมีการปฏิบัติก็จะไม่เป็นไปตามหลักการของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาก็จะไม่ดำรงอยู่คือจะเสื่อมสูญไป
      นอกจากความสำคัญในทางพระพุทธศาสนาโดยตรงแล้วพระไตรปิฎกยังมีคุณค่าที่สำคัญในด้านอื่น ๆ อีกมาก โดยเฉพาะ
      ๑. เป็นที่บันทึกหลักฐานเกี่ยวกับลัทธิ ความเชื่อถือ ศาสนา ปรัชญา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม เรื่องราว เหตุการณ์ และถิ่นฐาน เช่น แว่นแคว้นต่าง ๆ ในยุคอดีตไว้เป็นอันมาก
      ๒. เป็นแหล่งที่จะสืบค้นแนวความคิดที่สัมพันธ์กับวิชาการต่าง ๆ เนื่องจากคำสอนในพระธรรมวินัยมีเนื้อหาสาระเกี่ยวโยง หรือครอบคลุมถึงวิชาการหลายอย่าง เช่น จิตวิทยา กฎหมาย การปกครอง เศรษฐกิจ เป็นต้น
      ๓. เป็นแหล่งเดิมของคำศัพท์บาลีที่นำมาใช้ในภาษาไทย เนื่องจากภาษาบาลีเป็นรากฐานสำคัญส่วนหนึ่งของภาษาไทย การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกจึงมีอุปการะพิเศษแก่การศึกษาภาษาไทย
      รวมความว่า การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกมีคุณค่าสำคัญ ไม่เฉพาะแต่ในการศึกษาพระพุทธศาสนาเท่านั้นแต่อำนวยประโยชน์ทางวิชาการในด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น ภาษาไทย ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา โบราณคดี รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา และจิตวิทยา เป็นต้น

 

 


โครงสร้างของพระไตรปิฎก
      พระธรรมวินัย ที่บรรจุอยู่ในพระไตรปิฎกนั่น เป็นหลักในการจัดหมวดหมู่ของพระไตรปิฎกธรรมและวินัย ๒ อย่าง ท่านนำมาเก็บรวมจัดใหม่แยกเป็น ๓ ปิฎก คือ
      วินัย ได้แก่ ระเบียบข้อบังคับสำหรับชีวิตและชุมชนของภิกษุและภิกษุณี จัดไว้เป็นคัมภีร์หนึ่ง เรียกว่า วินัยปิฎก
      ธรรม จัดแยกเป็น ๒ คัมภีร์ คือ
      ๑) ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยักเยื้องไปต่าง ๆ ให้เหมาะกับบุคคลสถานที่เหตุการณ์มีเรื่องราวประกอบจัดรวมไว้ เรียกว่า สุตตันตปิฎก
      ๒) ธรรมที่แสดงเป็นเนื้อหาหรือหลักวิชาล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ ไม่มีเรื่องราวประกอบจัดไว้พวกหนึ่ง เรียกว่า อภิธรรมปิฎก ดังแผนภูมิแสดงโครงสร้างพระไตรปิฎกต่อไปนี้ (พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ๒๕๔๓ : ๗๒–๗๔)

 

 


แผนภูมิแสดงโครงสร้างพระไตรปิฎก

 

 



พระไตรปิฎก หรือปิฎก ๓ นี้ เป็นคัมภีร์ที่มีขนาดใหญ่โตมาก มีเนื้อหามากมาย ดังที่ท่านระบุไว้ว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ฉบับพิมพ์อักษรไทยจัดแยกเป็น ๔๕ เล่ม นับรวมได้ถึง ๒๒,๓๗๙ หน้า หรือเป็นตัวอักษรประมาร ๒๔,๓๐๐,๐๐๐ ตัว
      แต่ละปิฎกมีการจัดแบ่งหมวดหมู่บทตอน ซอยออกไปมากมายซับซ้อน ดังปรากฏในแผนภูมิแสดงโครงสร้างพระไตรปิฎกที่กล่าวมา
      ในประเทศไทย พระไตรปิฎกได้รับการตีพิมพ์เป็นเล่มหนังสือด้วยอักษรไทยเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ การตีพิมพ์เสร็จเรียบร้อยและมีการฉลองใน พ.ศ.๒๔๓๖ พร้อมกับงานรัชดาภิเษก พระไตรปิฎกที่ตีพิมพ์ครั้งนั้นจัดเป็นจบละ ๓๙ เล่ม
      ต่อมา พ.ศ.๒๔๖๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้โปรดเกล้าฯให้ตีพิมพ์ใหม่เป็นพระไตรปิฎกฉบับที่สมบูรณ์ เพื่ออุทิศถวายพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ ๖ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ มีจำนวนจบละ ๔๕ เล่ม ซึ่งได้ถือเป็นหลักในการจัดแบ่งเล่มพระไตรปิฎกในประเทศไทยสืบมาจนปัจจุบัน

 

 


สาระสำคัญของพระไตรปิฎก
      พระไตรปิฎก ๔๕ เล่มดังกล่าวมามีสาระสำคัญ โดยเรียงลำดับเล่มดังต่อไปนี้ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) : ๒๕๔๓ : ๗๕–๙๑)

พระวินัยปิฎก
      ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับ ความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า อา ปา ม จุ ป)* จำนวน ๘ เล่ม
      เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์ (กฎหรือข้อบังคับที่เป็นหลักใหญ่สำหรับพระภิกษุ) ๑๙ ข้อแรก ซึ่งอยู่ในระดับอาบัติหนักหรือความผิดสถานหนัก คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส และอนิยต
      เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฎิโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ข้อที่เหลือ ซึ่งอยู่ในระดับอาบัติเบาหรือความผิดสถานเบา คือ ตั้งแต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จนครบสิกขาบท ๒๒๗ หรือ ศีล ๒๒๗
      เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขบท ๓๑๑ ของภิกษุณี
      เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาติโมกข์ (ระเบียบข้อบังคับทั่วไปเกี่ยวกับความเป็นอยู่และการดำเนินกิจการของภิกษุสงฆ์) ตอนต้น มี ๔ ขันธกะ (หมวด) คือ เรื่องกำเนิดภิกษุสงฆ์และการอุปสมบท อุโบสถ จำพรรษาและปวารณา
      เล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาติโมกข์ตอนต้น (ต่อ) มี ๖ บันธกะ (หมวด) คือ เรื่องเครื่องหนัง เภสัช กฐิน จีวร นิคคหกรรม และการทะเลาะวิาทและสามัคคี
      เล่ม ๖ จุลลวรรค ภาค ๑ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาติโมกข์ตอนปลาย มี ๔ ขันธกะ คือ เรื่องนิคคหกรรม วุฎฐานวิธีและการระงับอธิกรณ์
      เล่ม ๗ จุลลวรรค ภาค ๒ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาติโมกข์ตอนปลาย (ต่อ) มี ๘ ขันธกะ คือ เรื่องข้อบัญญัติปลีกย่อย เรื่องเสนาสนะ สังฆเภท วัตรต่าง ๆ การงดสวดปาติโมกข์ เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนา ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒
      เล่ม ๘ ปริวาร คู่มือถามตอบซ้อมความรู้พระวินัย

พระสุตตันตปิฎก
      ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายหรืออธิบายธรรมต่าง ๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาส ตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที. ม. สัง. อัง. ขุ.) ๒๕ เล่ม
      ๑. ทีฆนิกาย ๓ เล่ม (ชุมนุมพระสูตรขนาดยาว)
      เล่ม ๙ สีลขันธวรรค มีพระสูตรขนาดยาย ๑๓ สูตร เริ่มด้วย พรหมชาลสูตร (หลายสูตรกล่าวถึงความถึงพร้อมด้วยสีลขันธ์ ซึ่งบางทีก็จำแนกเป็นจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล จึงเรียกว่า สีลขันธวรรค)
      เล่ม ๑๐ มหาวรรค มีพระสูตรขนาดยาว ๑๐ สูตร ส่วนมากชื่อเริ่มด้วย “มหา” เช่น มหาปรินิพพานสูตร มหาสมยสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น
      เล่ม ๑๑ ปาฏิกวรรค มีพระสูตรขนาดยาว ๑๑ สูตร เริ่มด้วยปาฏิกสูตร หลายสูตรมีชื่อเสียง เช่น จักกวัตติสูตร อัคคัญญสูตร สิงคาลกสูตร และสังคีติสูตร
      
      ๒. มัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม (ชุมนุมพระสูตรขนาดกลาง)
      เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ (ปั้นต้น) มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร บางสูตรอาจจะคุ้นชื่อ เช่น ธรรมทายาทสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สติปัฏฐานสูตร รถวินีตสูตร วีมังสกสูตร
      เล่ม ๑๓ มัชฌิมปัณณาสก์ (บั้นกลาง) มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร ที่อาจจะคุ้นชื่อ เช่น เสขปฎิปทาสูตร ชีวกสูตร อุปาลิวาทสูตร อภยราชกุมารสูตร มาคัณธิยสูตร รัฏฐปาลสูตร โพธิราชกุมารสูตร อังคุลิมาลสูตร ธรรมเจดียสูตร วาเสฎฐสูตร
      เล่ม ๑๔ อุปริปัณณาสก์ (บั้นปลาย) มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๒ สูตร มีเนื้อหาแตกต่างกันหลากหลาย เช่น เทวทหสูตร โคปกโมคคัลลานสูตร สัปปุริสสูตร มหาจัตตารีสกสูตร อานาปานสติสูตร กายคตาสติสูตร ภัทเทกรัตตสูตร จูฬกรรมวิภังคสูตร สัจจวิภังคสูตร ปุณโณวาทสูตร สฬายตนวิภังคสูตร อินทรียภาวนาสูตร

      ๓. สังยุตตนิหาย ๕ เล่ม (ชุมนุมพระสูตรที่เกี่ยวกับหัวเรื่องเดียวกัน ๆ คือ ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่ม ๆ เรียกว่าสังยุตต์หนึ่ง ๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวม ๕๖ สังยุตต์ มี ๗,๗๖๒ สูตร)
    เล่ม ๑๕ สคาถวรรค รวมคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคลต่าง ๆ เช่น เทวดา มาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้าโกศล เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มเรื่องตามบุคคลและสถานที่มี ๑๑ สังยุตต์
      เล่ม ๑๖ นิทานวรรค ครึ่งเล่มว่าด้วยเหตุและปัจจัย คือ หลักปฎิจจสมุปบาท นอกนั้นมีเรื่องธาตุ การบรรลุธรรมสังสารวัฎ ลาภสักการะ เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุตต์
      เล่ม ๑๗ ขันธวารวรรค ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ในแง่มุมต่าง ๆ มีเรื่องเบ็ดเตล็ดรวมทั้งเรื่อง สมาธิ และทิฎฐิต่าง ๆ ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓ สังยุตต์
      เล่ม ๑๘ สฬายตนวรรค เกือบครึ่งเล่มว่าด้วยอายตนะ ๖ ตามแนวไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีล ข้อปฏิบัติให้ถึงอสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ
      เล่ม ๑๙ มหาวารวรรค ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ แต่เรียงลำดับเป็นมรรค (พร้อมทั้งองค์ธรรมก่อนมรรค) โพชฌงค์ สติปัฏฐาน อินทรีย์ สัมมัปปธาน พละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น นิวรณ์ สังโยชน์ อริยสัจจ์ ฌาน ตลอดถึงองค์คุณของพระโสดาบันและอานิสงส์ของการบรรลุโสดาปัตติผล จัดเป็น ๑๒ สังยุตต์

     ๔. อังคุตตรนิกาย ๕ เล่ม (ชุมนุมพระสูตรที่เพิ่มจำนวนขึ้นทีละหน่วย คือชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวด ๆ เรียกว่า นิบาตหนึ่ง ๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวด ธรรมมี ๙,๕๕๗ สูตร)
      เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ (เช่นธรรมเอกที่ฝึกอบรมแล้ว เหมาะแก่การใช้งาน ได้แก่ จิต, องค์คุณภายในอันเอกที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ ได้แก่ความไม่ประมาท ฯลฯ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ) หมวด ๒ (เช่น สุข ๒ สิบสามชุด, คนพาล ๒, บัณฑิต ๒, ปฎิสันถาร ๒, ฤทธิ์ ๒ ฯลฯ) หมวด ๓ (เช่น มารดาบิดามีฐานนะต่อบุตร ๓ อย่าง, ความเมา ๓, อธิปไตย ๓, สิกขา ๓ ฯลฯ)
      เล่ม ๒๑ จตุกกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๔ (เช่น อริยธัมม์ หรืออารยธรรม ๔, พุทธบริษัท ๔, ปธาน ๔, อคติ ๔, จักร ๔, สังคหวัตถุ ๔ ฯลฯ )
      เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๕ (เช่น พละ ๕, นิวรณ์ ๕, อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕, นักรบ ๕ ฯลฯ) และ หมวด ๖ (เช่น สาราณียธรรม ๖, อนุตตริย ๖, คาราวตา ๖, อภัพพฐาน ๖, ฯลฯ)
      เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฎฐก-นวกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๗ (เช่น อริยทรัพย์ ๗, อนุสัย๗, อปริหานิยธรรม ๗, สัปปุริสธรรม ๗,)
      เล่ม ๒๘ ชาดก ภาค ๒ รวมคาถาอย่างในภาค ๑ นั้น เพิ่มอีก แต่เป็นเรื่องอย่างยาว ตั้งแต่เรื่องมี ๕๐ คาถา (ปัญญาสนิบาต) ถึงเรื่องมีคาถามากมาย (มหานิบาต) จบลงด้วยมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมี ๑,๐๐๐ คาถา ภาคนี้มี ๒๒ เรื่อง บรรจบทั้งสองภาค เป็น ๕๔๗ ชาดก
      ล่ม ๒๙ มหานิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในอัฎฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต
      เล่ม ๓๐ จูฬนิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตรในปารายนวรรคและขัคควิสาณสูตรในอุรควรรคแห่งสุตตนิบาต
      เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่าง ๆ เช่น เรื่องญาณ ทิฏฐิ อานาปาน อินทรีย์ วิโมกข์ เป็นต้น อย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน
      เล่ม ๓๒ อปทาน ภาค ๑ บทประพันธ์ร้อยกรอง (คาถา) แสดงประวัติพระอรหันต์ โดยเฉพาะในอดีตชาติ เริ่มด้วยพุทธอปทาน (ประวัติของพระพุทธเจ้า) ปัจเจกพุทธอปทาน (เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า) ต่อด้วยเถรอปทาน (อัตตประวัติแห่งพระอรหันตเถระ) เริ่มแต่พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธ ฯลฯ พระอานนท์ ต่อเรื่อยไปจนจบภาค ๑ รวม ๔๑๐ รูป
      เล่ม ๓๓ อปทาน ภาค ๒ คาถาประพันธ์แสดงอัตตประวัติพระอรหันตเถระต่ออีกจนถึงรูปที่ ๕๕๐
      ต่อนั้นเป็นเถรีอปทานแสดงเรื่องราวของพระอรหันตเถรี ๔๐ เรื่อง เริ่มด้วยพระเถรีท่ำม่คุ้นนาม ๑๖ รูป ต่อด้วยพระเถรีที่สำคัญ คือ พระมหาปชาบดีโคตมี พระเขมา พระอุบลวรรณา พระปฏาจารา ฯลฯ พระยโสธรา และท่านอื่น ๆ ต่อไปจนจบ
      ครั้งจบอปทานแล้ว ท้ายเล่ม ๓๓ นี้ มีคัมภีร์ พุทธวงส์เป็นคาถาประพันธ์แสดงเรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์ที่พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันเคยได้ทรงเฝ้าและได้รับพยากรณ์ จนถึงประวัติของพระองค์เอง รวมเป็นพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ จบแล้วมีคัมภีร์สั้น ๆ ชื่อ จริยาปิฎก เป็นท้ายสุด แสดงพุทธจริยาในอดีตชาติ ๓๕ เรื่องที่มีแล้วในชาดก แต่เล่าด้วยคาถาประพันธ์ใหม่ ชี้ตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีบางข้อ
      ขุททกนิกาย นี้ เมื่อมองโดยภาพรวม ก็จะเห็นลักษณะที่กล่าวว่าเป็นที่ชุมนุมของคัมภีร์ปลีกย่อยเบ็ดเตล็ด คือ แม้จะมีถึง ๑๕ คัมภีร์ รวมได้ถึง ๙ เล่ม แต่
      • มีเพียงเล่มแรกเล่มเดียว (๒๕) ที่หนักในด้านเนื้อหา หลักธรรม แต่ก็เป็นคัมภีร์เล็ก ๆ ในเล่มเดียวมีถึง ๕ คัมภีร์ ทุกคัมภีร์มีความสำคัญและลึกซึ้งมาก
      • อีก ๓ เล่ม (๒๘–๒๙–๓๐) คือ นิทเทส และ ปฏิสัมภิทามรรค แม้จะแสดงเนื้อหาธรรมโดยตรง แต่ก็เป็นคำอธิบายของพระสาวก (พระสารีบุตร) ที่ไขความพุทธพจน์ที่มีอยู่แล้วในคัมภีร์ข้างต้น (ถือได้ว่าเป็นต้นแบบของอรรถกถา)
      • ที่เหลือจากนั้นอีก ๘ คัมภีร์ ล้วนเป็นบทประพันธ์ร้อยกรอง ที่มุ่งความไพเราะงดงามให้เร้าความรู้สึก เช่น เสริมศรัทธาเป็นต้น คือ
      เล่ม ๒๖ วิมารวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา เล่าประสบการณ์ ความรู้สึก และคติของคนดี คนชั่วตลอดจนพระอรหันตวาวกที่จะเป็นตัวอย่าง / แบบอย่างสำหรับเร้าให้เกิดความรู้สึกสังเวช เตือนใจ และเร้ากำลังใจ ให้ละความชั่ว ทำความดี และเพียรบำเพ็ญอริยมรรค
      เล่ม ๒๗–๒๘ ชาดก แสดงคติธรรมที่สั่งสอนและเร้าเตือนให้กำลังใจจากการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าเอง
      เล่ม ๓๒–๓๓ อปทาน พุทธวงส์ จริยาปิฎก เป็นบทร้อยกรอง บรรยายประวัติ ปฎิปทา และจริยา ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกในแนวของวรรณศิลป์ที่จะเสริมปสาทะและจรรโลงศรัทธา

พระอภิธรรมปิฎก
      ประมวลพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นเนื้อหาวิชาล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ส วิ ธา ปุ ก ย ป) ๑๒ เล่ม
      เล่ม ๓๔ (ธัมม) สังคณี ต้นเล่มแสดงมาติกา (แม่บท) อันได้แก่บทสรุปแห่งธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นชุด ๆ มีทั้งชุด ๓ เช่น จัดทุกสิ่งทุกอย่างประดามีเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรม ชุดหนึ่ง เป็นอดีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม ชุดหนึ่ง ฯลฯ และชุด ๒ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสังขตธรรม อสังขตธรรม ชุดหนึ่ง โลกียธรรม โลกุตตรธรรม ชุดหนึ่ง เป็นต้น รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ ชุด หรือ ๑๖๔ มาติกา
ตอนต่อจากนั้น ซึ่งเป็นเนื้อหาส่วนสำคัญของคัมภีร์นี้เป็นคำวิสัชชนา ขยายความมาติกาที่ ๑ เป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมที่กระจายออกไปในแง่ของจิต เจตสิก รูป และนิพพาน
ท้ายเล่มมีอีก ๒ บท แต่ละบทแสดงคำอธิบายย่อหรือคำจำกัดความข้อธรรมทั้งหลายในมาติกาที่กล่าวถึงข้างต้นจนครบ ๑๖๔ มาติกา ได้คำจำกัดความข้อธรรมใน ๒ บท ต่างแนวกันเป็น ๒ แบบ (แต่บทท้ายจำกัดความไว้เพียง ๑๒๒ มาติกา)
      เล่ม ๓๕ ยกหลักธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นมาแจกแจงแยกแยะอธิบายกระจายออกให้เห็นทุกแง่ และวินิจฉัยจนชัดเจนจบไปเป็นเรื่อง ๆ รวมอธิบายทั้งหมด ๑๘ เรื่อง คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และ ธาตุ ๑๘ ว่าข้อใดจัดเข้าได้หรือไม่ได้ในอย่างไหน ๆ และปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของชื่อที่ใช้เรียกบุคคลต่าง ๆ ตามคุณธรรม เช่นว่า “โสดาบัน” ได้แก่ บัคคลผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ดังนี้เป็นต้น
      เล่ม ๓๗ กถาวัตถุ คัมภีร์ที่พระโมคคัลลีบัตรติสสเถระประธานการสสังคายนาครั้งที่ ๓ เรียบเรียงขึ้นเพื่อแก้ความเห็นผิดของนิกายต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาครั้งนั้น ซึ่งได้แตกแยกกันออกไปแล้วถึง ๑๘ นิกาย เช่น ความเห็นว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหันตตผลได้ เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการเกิดได้ ทุกอย่างเกิดจากกรรม เป็นต้น ประพันธ์เป็นคำปุจฉาวิสัชนา มีทั้งหมด ๒๑๙ กถา
      เล่ม ๓๘ ยมก ภาค ๑ คัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็นความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจน และทดสอบความรู้อย่างลึกซึ้ง ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ (ยมก แปลว่า คู่) เช่นถามว่า ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล หรือว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล เป็นกุศล, รูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์ (ทั้งหมด) เป็นรูป, ทุกข์ (ทั้งหมด) เป็นทุกขสัจจ์ หรือว่าทุกขสัจจ์ (ทั้งหมด) เป็นทุกข์ หลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มนี้มี ๗ คือ มูล (เช่นกุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้น ๆ เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น เล่มนี้จึงมี ๗ ยมก
      เล่ม ๓๙ ยมก ภาค ๒ ถามตอบอธิบายหลักธรรมเพิ่มเติมจากภาค ๑ อีก ๓ เรื่อง คือ จิตตยมก ธรรมยมก (กุศล-อกุศล-อัพยากตธรรม) อินทรียยมก บรรจบเป็น ๑๐ ยมก
      เล่ม ๔๐ ปัฏฐาน ภาค ๑ คัมภีร์ปัฏฐาน อธิบายปัจจัย ๒๔ โดยพิสดาร แสดงควาวมสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้านต่าง ๆ ธรรมที่นำมาอธิบายก็คือข้อธรรมที่มีในมาติกาคือแม่บทหรือบทสรุปธรรม ซึ่งกล่าวไว้แล้วในต้นคัมภีร์สังคณีนั่นเอง แต่อธิบายเฉพาะ ๑๒๒ มาติกา แรกที่เรียกว่า อภิธรรมมาติกา
      ปัฏฐานเล่มแรกนี้ อธิบายความหมายของปัจจัย ๒๔ เป็นการปูพื้นความเข้าใจเบื้องต้นก่อน จากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหาของเล่ม คือ อนุโลมติกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โดยปัจจัย ๒๔ นั้น เช่นว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัยอย่างไร กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมโยอุปนิสสยปัจจัยอย่างไร อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัยอย่างไร กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมโดยอารัมมณปัจจัยอย่างไร ฯลฯ ฯลฯ (เล่มนี้อธิบายแต่ในเชิงอนุโลม คือตามนัยปกติ ไม่อธิบายตามนัยปฏิเสธ จึงเรียกว่าอนุโลมปัฏฐาน)
      เล่ม ๔๑ ปัฏฐาน ภาค ๒ อนุโลมติกปัฏฐาน ต่อ คือ อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ ต่อจากเล่ม ๔๐ เช่น อดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่ปัจจุบันธรรมโดย อารัมมณปัจจัย (พิจารณารูป เสียง เป็นต้น ที่ดับเป็นอดีตไปแล้ว ว่าเป็นของไม่เทียง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความโทมนัสขึ้น ฯลฯ) เป็นต้น
      เล่ม ๔๒ ปัฏฐาน ภาค ๓ อนุโลมทุกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลาย ในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) เช่น โลกียธรรมเป็นปัจจัยแก่โลกียธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ) ดังนี้ เป็นต้น
      เล่ม ๔๓ ปัฏฐาน ภาค ๔ อนุโลมทุกปัฏฐาน ต่อ
      เล่ม ๔๔ ปัฏฐาน ภาค ๕ ยังเป็นอนุโลมปัฏฐาน แต่อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทต่าง ๆ ข้ามชุดกันไปมา ประกอบด้วย อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) โยงกับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) เช่นอธิบาย “กุศลธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เป็นโลกียธรรม โดยอธิปติปัจจัย” เป็นอย่างไร เป็นต้น อนุโลมติกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โยงกับธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) อนุโลมติกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน เช่น อธิบายว่า “กุศลธรรมที่เป็นอดีตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เป็นปัจจุบันธรรม” เป็นอย่างไร เป็นต้น อนุโลมทุกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน เช่น ชุดโลกียะโลกุตตระ กับชุดสังขตะอสังขตะ เป็นต้น
      เล่ม ๔๕ ปัฏฐาน ภาค ๖ เป็น ปัจจนียปัฏฐาน คือ อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายอย่างเล่มก่อน ๆ นั่นเอง แต่อธิบายแง่ปฏิเสธ แยกเป็น ปัจจนียปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ + ปฏิเสธ เช่นว่า ธรรมที่ไม่ใช่กุศล อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศลเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร อนุโลมปัจจนีย์ปัฏฐาน คือ อนุโลม+ ปฏิเสธ เช่นว่า อาศัยโลกิยธรรม ธรรมที่ไม่ใช่โลกุตตรธรรม เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+อนุโลม เช่นว่า อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศลธรรมที่เป็นอกุศล เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัยเป็นอย่างไร และในทั้ง ๓ แบบนี้ แต่ละแบบ จะอธิบายโดยใช้กรรมในแม่บทชุด ๓ แล้วต่อด้วยชุด ๒ แล้วข้ามชุดระหว่างชุด ๒ กับชุด ๒ จนครบทั้งหมดเหมือนกัน ดังนั้นแต่ละแบบจึงแยกซอยละเอียดออกไปเป็น ติก ทุก ทุกติก ติกทุก ติกติก ทุกทุก ตามลำดับ (เขียนให้เต็มเป็น ปัจจนียติกปัฏฐาน ปัจจนียทุกปัฏฐาน ปัจจนียทุกติกปัฏฐาน ฯลฯ ดังนี้เรื่อยไปจนถึงท้ายสุด คือ ปัจจนียานุโลมทุกทุกปัฏฐาน)
      คัมภีร์ปัฏฐานนี้ ท่านอธิบายค่อนข้างละเอียดเฉพาะเล่มต้น ๆ เท่านั้น เล่มหลัง ๆ ท่านแสดงไว้แต่หัวข้อหรือแนวและทิ้งไว้ให้ผู้เข้าใจแนวนั้นแล้ว เอาไปแจกแจงโดยพิสดารเอง โดยเฉพาะเล่มสุดท้ายคือภาค ๖ แสดงไว้ย่นย่อที่สุดแม้กระนั้นก็ยังเป็นหนังสือถึง ๖ เล่ม หรือ ๓,๓๒๐ หน้า กระดาษพิมพ์ ถ้าอธิบายโดยพิสดารทั้งหมด จะเป็นเล่มหนังสืออีกจำนวนมากมายหลายเท่าตัว ท่านจึงเรียกปัฏฐานอีกชื่อหนึ่งว่า “มหาปกรณ์” แปลว่า ตำราใหญ่ ใหญ่ทั้งโดยขนาดและโดยความสำคัญ

 
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล  http://www.mcu.ac.th

ห้องเรียนภูมิศาสตร์

ห้องเรียนเศรษฐศาสตร์
animated gifsanimated gifs


ห้องเรียนพระพุทธศาสนา

ห้องเรียนเศรษฐิกิจพอเพียง

สมุดเยี่ยม
animated gifs

animated gifs
animated gifsanimated gifsanimated gifs
animated gifs animated gifs animated gifs

 animated gifsanimated gifs animated gifs

   animated gifs         animated gifsanimated gifsanimated gifs

      
จดหมายข่าว
ครูปานใจ
Today, there have been 3 visitors (5 hits) on this page!
โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย สพม. เขต 31 หมายเลขโทรศัพท์ 044-214557-8 Fax 044-214440 This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free