โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
หน้าหลัก
เวปไซด์ราชสีมาวิทยาลัย
ห้องเรียนภูมิศาสตร์
ห้องเรียนเศรษฐศาสตร์
ห้องเรียนพุทธศาสนา
ห้องเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
ห้องเรียนพลศึกษาครูกมล
ห้องเรียนญี่ปุ่น ครูทิพย์วรรณ
วันแห่งความรัก
Games Room :Tic Tac Toe
สมุดเยี่ยม
บอร์ดคุยกับครูปานใจ
ร.ส. แชทรูม
สะเก็ดข่าว ชาวแสด-ขาว
Gallery Picture
ส32101(เศรษฐศาสตร์)
ครูดีเด่น

BANGKOK TIME
Hit Counter by Digits
ห้องเรียนเศรษฐศาสตร์

ห้องเรียนเศรษฐศาสตร์

                        ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. รู้ และเข้าใจหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
2. เข้าใจความสัมพันธ์ของอุปสงค์ อุปทาน ที่มีต่อกลไกราคา
 1. ความหมายของเศรษฐศาสตร์
           เศรษฐศาสตร์ (economic) เป็นวิชาแขนงหนึ่งในสาขาสังคมศาสตร์ (social science) ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด สนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดให้ได้มากที่สุด และเป็นประโยชน์ที่สุดทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์

วิชาเศรษฐศาสตร์มีความสำคัญดังนี้
1. เศรษฐศาสตร์จะช่วยจัดสรรทรัพยากรมีประสิทธิภาพสูงสุดและยุติธรรม เพื่อสนองความ
ต้องการของสังคมส่วนรวม
2. เศรษฐศาสตร์เป็นเครื่องมือหรือวิธีการที่จะช่วยให้เข้าใจเหตุการณ์ และปัญหา เศรษฐกิจใน
ชีวิตประจำวัน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วย
3. เศรษฐศาสตร์จะให้ความรู้พื้นฐานอันเป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพสาขาต่าง ๆ
4. เศรษฐศาสตร์ช่วยให้ประชากรของประเทศเป็นคนมีคุณภาพ รู้จักการผลิตและการบริโภค
และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาประเทศ

2. ลักษณะของวิชาเศรษฐศาสตร์ มีลักษณะ ดังนี้
2.1 เป็นวิชาหนึ่งของสังคมศาสตร์
2.2 เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิชาอื่น ๆ ในสังคมศาสตร์ เช่น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์
ฯลฯ
2.3 ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิต ความเป็นอยู่ประจำวันของมนุษย์
2.4 ข้อมูลส่วนใหญ่ แสดงออกในรูปของปริมาณ หรือตัวเลขต่าง ๆ แต่บางเรื่องก็ไม่อาจวัด
ออกมาเป็นปริมาณ หรือตัวเลขได้ เช่น ความชอบ ความพอใจ เป็นต้น

3. ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์
วิชาเศรษฐศาสตร์มีที่มาจากเหตุผล 2 ประการ คือ
1. ทรัพยากรมีจำกัด คือ สิ่งที่จะนำมาผลิตสินค้าและบริการเพื่อจำหน่ายจ่ายแจกให้กับผู้บริโภค ซึ่งรวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรที่เป็นทุน เช่น เครื่องจักร เทคนิคการผลิต เงินทุน ฯลฯ มีจำกัด
2. ความต้องการมีไม่จำกัด คือ ความต้องการมนุษย์ที่จะกิน ใช้ทรัพยากร เพื่อสนองความต้องการของตนมีไม่จำกัด


4. ขอบข่ายและแขนงของเศรษฐศาสตร์
             ในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ สามารถจำแนกขอบเขตได้เป็น 2 แขนงวิชา คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) และเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)
1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นเศรษฐศาสตร์ที่พิจารณาปัญหาและพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของสังคมในระดับหน่วยย่อย เช่น ศึกษาถึงการตัดสินใจทางธุรกิจของหน่วยผลิตหน่วยใดหน่วยหนึ่ง หรือพฤติกรรมครัวเรื่องหนึ่ง ๆ ในฐานะผู้บริโภค หรือศึกษาด้านพฤติกรรมของตลาดและกลไกราคา บางครั้งจึงเรียกทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคว่า ทฤษฎีราคา
2. เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นเศรษฐศาสตร์ที่พิจารณาปัญหาและพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในระดับส่วนรวมหรือระดับประเทศ เช่น ศึกษาถึงภาวการณ์ผลิตและราคาสินค้าโดยรวม ภาวการณ์ว่างงาน ค่าครองชีพภาวการณ์ผลิต นโยบายหรือมาตรการเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจส่วนรวม บางครั้งเรียกทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคว่า “ทฤษฎีรายได้ประชาชาติ”
แม้ว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาคจะแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์มหภาค แต่ทั้งสองวิชาก็มีความเกี่ยวข้องกัน กล่าวคือ การที่ระบบเศรษฐกิจมวลรวมจะดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับส่วนต่าง ๆ ของระบบเศรษฐกิจ

5. ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ
           ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในที่ต่าง ๆ บนพื้นโลกและความสัมพันธ์ระหว่างที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้น ๆ กับปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์จะเน้นได้ว่าในที่ต่าง ๆ มีการประกอบกิจกรรทางเศรษฐกิจ ซึ่งแตกต่างกันไป โดยมีปัจจัยทางภูมิศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นภูมิศาสตร์กายภาพ และลักษณะทางวัฒนธรรม ซึ่งวิชาภูมิศาสตร์เศรษฐกิจจะช่วยให้ทราบข้อเท็จจริงว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ว่าจะมีอยู่ที่ใด ปริมาณมากน้อยเท่าใด ใช้วิชีการอย่างใด และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น โดยอาศัยการวิเคราะห์ซึ่งอาจจะพบปัญหาต่าง ๆ อันจะเป็นแนวทางให้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น
          ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กับภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ ต่างก็เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ด้วยกัน เพียงแต่ว่าเศรษฐศาสตร์จะมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจจะมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ


6. ประโยชน์ในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ แบ่งได้ดังนี้
6.1 ประโยชน์ในฐานะผู้บริโภค
- รู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในการบริโภคและใช้ในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือความพอใจสูงสุดแก่ตน
- สามารถจำแนกชนิดของสินค้าหรือบริการที่มีประโยชน์และสามารถใช้บำบัดความต้องการของตนเองและคนในครอบครัวได้ด้วยราคาที่ประหยัดที่สุด
- สามารถประมาณการค่าใช้จ่ายและการกำหนดแผนการบริโภค ได้อย่างเหมาะสม
- สามารถคาดคะเนสถานการณ์ทางเศรษฐกิจได้อย่างมีเหตุผล
6.2 ในฐานะผู้ผลิตและเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
- ช่วยให้เกิดความสำนึกในคุณค่าของทรัพยากรว่าควรใช้ให้เป็นประโยชน์หรือให้มีผลตอบแทนสูงสุด
- ช่วยให้สามารถจัดสรรหรือแจกจ่ายสินค้าและบริการที่ผลิตได้นั้นไปยังผู้ที่สมควรได้รับมากที่สุด และตรงตามความต้องการของบุคคลเหล่านั้น
- ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายหรือลดต้นทุนการผลิต ทำให้การดำเนินธุรกิจของตนเป็นไปด้วยดี
6.3 ในฐานะผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจ (ผู้บริหาร) ของประเทศ
- สามารถเข้าใจปัญหาด้านต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ
- จัดลำดับความสำคัญของโครงการต่าง ๆ ตามความจำเป็นและความต้องการของประชาชนและประเทศชาติ
- จัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บริการแก่ทุก ๆ ฝ่ายอย่างทั่วถึงเท่าที่สามารถจะทำได้
- สามารถวางนโยบายทางเศรษฐกิจ เพื่อความมั่งคั่งและความมั่นคงคงประเทศได้

7. ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นเนื่องจากความต้องการโดยทั่วไปของมนุษย์มีไม่จำกัดแต่ทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่นำมาผลิตเป็นสินค้าหรือบริการที่จะมาสนองความต้องการนั้นมีจำกัดจึงเกิดปัญหาว่าจะจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดนี้นอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์มากที่สุด
สรุปได้ว่าการดำเนินชีวิตทางเศรษฐกิจของมนุษย์ทุกสังคม จะประสงกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ
7.1 จะผลิตอะไร (What to Produce?) หมายความว่า
- สิ่งใดควรผลิต และสิ่งใดไม่ควรผลิต
- สิ่งที่ควรผลิตนั้นควรผลิตในปริมาณเท่าใดจึงจะเพียงพอกับความต้องการ
- ทำอย่างไรจะทำให้ทรัพยากรอันจำกัดนั้นเกิดประโยชน์มากที่สุด
7.2 จะผลิตอย่างไร (How to Produce?) หมายความว่า
- จะผลิตในปริมาณเท่าไร
- จะใช้วิธีใดในการผลิตเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด
7.3 จะผลิตเพื่อใคร (For to Produce?) หมายความว่า
- สินค้าและบริการนั้นผลิตเพื่อใคร
- ทำอย่างไรจึงจะแบ่งสรรสินค้า และบริการไปยังบุคคลต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและยุติธรรม ปัญหาพื้นฐานทั้ง 3 ประการ นับเป็นมูลเหตุที่ทำให้ต้องศึกษาเศรษฐศาสตร์ และมีความพยายามหลายด้านที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ระบบเศรษฐกิจแบบต่าง ๆ
 8. หน่วยเศรษฐกิจ
       หน่วยเศรษฐกิจ หมายถึง หน่วยงานที่มีอยู่ในแต่ละระบบเศรษฐกิจ ทำหน้าที่ต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจนั้น ๆ
หน่วยเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หรือแบบสังคมนิยม ย่อมประกอบด้วยหน่วยใหญ่ 3 หน่วย คือ
8.1 ครัวเรือน (household)
8.2 ธุรกิจ (business)
8.3 องค์การรัฐบาล (government agency)
หน่วยเศรษฐกิจทั้ง 3 หน่วยนี้มีองค์ประกอบและลักษณะสำคัญดังนี้ คือ 

8.1 ครัวเรือน
1) ความหมายของครัวเรือน ครัวเรือน หมายถึง หน่วยเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยบุคคลเพียงหนึ่งคนหรือมากว่าหนึ่งคนอาศัยอยู่ใต้หลังคาเดียวกัน มีการตัดสินใจร่วมกันในการใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยทางด้านการเงิน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์และสวัสดิภาพแก่กลุ่มตนมากที่สุด
2) เป้าหมายหลักของครัวเรือน คือ การแสวงหาความพอใจสูงสุดของสมาชิกแต่ละคนในครัวเรือน สิ่งที่ทุกคนพยายามจะทำคือ การแสวงหาสวัสดิการที่ดีที่สุดเพื่อให้ทุกคนอยู่ด้วยความสุข ความพอใจและบรรลุเป้าหมายของกลุ่มได้


8.2 ธุรกิจ
1) ธุรกิจ หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่เอาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ มาผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปและการบริการ แล้วนำไปขายให้แก่ผู้บริโภคในหน่วยงานอื่น ๆ เช่น หน่วยธุรกิจด้วยกัน หน่วยครัวเรือน องค์การรัฐบาล ฯลน
2) หน่วยธุรกิจ ประกอบด้วยสมาชิกใหญ่ ๆ 2 กลุ่ม คือ
ก.
ผู้ผลิต (producers)
ข. ผู้ขาย (sellers)
บุคคลทั้ง 2 กลุ่มนี้อาจทำหน้าที่ทั้ง 2 อย่างก็ได้
3) เป้าหมายหลักของหน่วยธุรกิจ ได้แก่ การแสวงหากำไรสูสงสุดจากการประกอบการของตน โดยอาจทำได้หลายวิธี เช่น
ก. พยายามขายให้ได้มากที่สุด
ข. การขยายส่วนแบ่งของตลาดให้มากขึ้น
ค. การกระทำที่จะช่วยให้สินค้าของตนเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากว่าสินค้าของผู้ขายรายอื่น ๆ
หน่วยเศรษฐกิจทั้ง 2 หน่วย
คือ ครัวเรือน และหน่วยธุรกิจ จะทำหน้าที่สัมพันธ์กันจนเกิดเป็นวงจรในระบบเศรษฐกิจ

8.3 องค์การรัฐบาล
1) ความหมายขององค์การรัฐบาล หมายถึง หน่วยงานของรัฐและส่วนราชการต่าง ๆ
ที่จัดขึ้นเพื่อการดำเนินการของรัฐบาล นอกจากนี้ ยังได้แก่ สถาบันที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบกิจการต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นหน่วยในองค์การรัฐบาล
2) เป้าหมายขององค์การรัฐบาล คือ มีหน้าที่สัมพันธ์กับหน่วยอื่น ๆ ในระบบ
เศรษฐกิจที่สำคัญคือ 

ก. เป็นผู้บริโภคและเจ้าของปัจจัยการผลิต
ข. เรียกเก็บภาษีจากหน่วยครัวเรือนและหน่วยธุรกิจ
ค. ให้ความคุ้มครองป้องกันภยันตรายทางเศรษฐกิจ
ง. ตัดสินข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างสมาชิกในหน่วยเศรษฐกิจต่าง ๆ
บุคคลต่าง ๆ ที่อยู่ในแต่ละหน่วยของระบบเศรษฐกิจจะมีหน้าที่แตกต่างกันซึ่ง
อาจจะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. เป็นผู้บริโภค (consumers) มีหน้าที่เลือกการบริโภค เลือกใช้สินค้าหรือบริการตามความต้องการหรือความพอใจของตน ผู้บริโภคอาจเป็นบุคคล ห้างหุ้นส่วน มูลนิธิ หรือหน่วยงานของรัฐบาล
2. เป็นผู้ผลิต (producers) มีหน้าที่นำเอาปัจจัยการผลิตมาใช้หรือผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค ผู้ผลิตอาจเป็นภาคเอกชน ซึ่งได้แก่บุคคล บริษัท ห้องหุ้นส่วน มูลนิธิ ฯลฯ
3. เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต (owner of factor production) มีหน้าที่นำปัจจัยการผลิตที่ตนมาขายให้แก่ผู้ผลิต ได้แก่ แรงงาน ที่ดิน ทุน แล้วนำผลตอบแทนที่ได้รับไปซื้อสินค้า หรือบริการ หรือใช้ปัจจัยการผลิตเองโดยตรง ผู้ที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตอาจเป็นภาคเอกชนหรือรัฐบาลก็ได้
 9. คำศัพท์ที่น่ารู้ทางเศรษฐศาสตร์
9.1 ความต้องการทางเศรษฐศาสตร์
             หมายถึง ความอยากหรือความปรารถนาที่จะได้สิ่งต่าง ๆ มาบริโภค หรือทำความ
พอใจให้กับตน ความต้องการสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว นับเป็นกลไกสำคัญเบื้อต้นที่ก่อให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ
ทางเศรษฐกิจตามมาอีกมากมาย

ความต้องการของมนุษย์มีลักษณะ ดังนี้
(
1) ความต้องการทั่วไปไม่มีที่สิ้นสุด
(2) ความต้องการสิ่งของเฉพาะชนิดย่อมมีที่สิ้นสุด เช่น เมื่อหิวข้าว มีความต้องการกินข้าว เมื่อได้ข้าวมากินหมดจานแล้ว เราอาจอิ่มพอดี ความต้องการสิ่งของเฉพาะชนิดจะลดน้อยลงเป็นลำดับ เมื่อเราได้สิ่งของชนิดนี้มาบำบัดความต้องการมากหน่วยขึ้นเรื่อย ๆ
(3) ของที่ใช้บำบัดความต้องการอาจเปลี่ยนทดแทนกันได้ เช่น เมื่อเราต้องการซื้อเนื้อสุกรมาปรุงอาหาร แต่บังเอิญเนื้อสุกรในตลาดไม่มีขาย เราก็อาจใช้เนื้อโคมาปรุงอาหารแทนได้ การที่มนุษย์เราสามารถบำบัดความต้องการด้วยสิ่งของที่ใช้ทดแทน
กันได้เช่นนี้ทำให้เกิดกฎสำคัญ คือ กฎแห่งการทดแทนกัน ซึ่งเป็นกฎที่จะช่วย ป้องกันการค้าขายแบบผูกขาดได้เป็นอย่างดี
(4) ความต้องการอาจจะกลายเป็นนิสัยได้ ความต้องการในของบางสิ่งนั้นถ้าได้รับการบำบัดทุกครั้งบ่อย ๆ เข้า อาจเกิดความต้องการในสิ่งนั้นต่อ ๆ ไปเป็นนิสัยได้ ตัวอย่าง เช่น การติดบุหรี่ ติดเหล้า
(5) ความต้องการของบางอย่างจะไปเกี่ยวพันกับความต้องการของอย่างอื่นด้วย เช่น เมื่อต้องการไม้ตีปิงปอง ก็ต้องการมีลูกปิงปองด้วยประกอบกันไป
เป็นต้น 
 9.2 ทรัพย์ทางเศรษฐศาสตร์
(1) ทรัพย์ คือ สิ่งต่าง ๆ ที่จะใช้บำบัดความต้องการมนุษย์ได้ ไม่ว่าสิ่งนั้น ๆ จะมี
ตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ตาม
(2) ประเภทของทรัพย์ ทรัพย์อาจแบ่งได้เป็นหลายประเภท แล้วแต่ว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ประเภทของทรัพย์แบ่งได้ ดังนี้ 

ก. เกณฑ์ปริมาณที่มีอยู่ของทรัพย์ แบ่งทรัพย์ได้เป็น 2 ประเภท คือ
(1) ทรัพย์เสรี คือ ทรัพย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติเป็นจำนวนมากมายเกิน
ความต้องการของมนุษย์ บริโภคได้โดยไม่ต้องซื้อ หรือนำสิ่งใดไปแลกเปลี่ยน ทรัพย์ชนิดนี้ เช่น
อากาศ แสงแดด น้ำตามแม่น้ำลำคลอง ฯลฯ
(2) เศรษฐทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่มีอยู่เป็นจำนวนจำกัด ไม่เพียงพอ
กับความต้องการของมนุษย์โดยทั่วไป ผู้ใดต้องการจะบริโภคทรัพย์ประเภทนี้ จะต้องนำทรัพย์ชนิดอื่นหรือเงินไปแลกเปลี่ยน ซื้อหา จึงจะได้มา
ลักษณะสำคัญของเศรษฐทรัพย์ ได้แก่
1. เป็นทรัพย์ที่สามารถเข้ายึดถือเป็นเจ้าของได้
2. เป็นทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนมือกันได้ คือ อาจนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยน เช่า หรือโอนความเป็นเจ้าของกันได้ และลักษณะของเศรษฐทรัพย์ข้อนี้เองที่ทำให้เศรษฐทรัพย์มีมูลค่าแห่งการแลกเปลี่ยน
ข. เกณฑ์การนำทรัพย์ไปบำบัดความต้องการหรือใช้ประโยชน์
แบ่งทรัพย์ได้เป็น 2 ประเภท คือ
(1) สินค้าผู้บริโภค คือ สินค้าหรือทรัพย์ที่ถูกนำมาบำบัดความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง เช่น ข้าว น้ำตาล น้ำปลา ผลไม้
(2) สินค้าสำหรับผู้ผลิต คือ สินค้าหรือทรัพย์ที่ถูกนำไปใช้เป็นปัจจัยในการผลิตสินค้าชนิดอื่น ๆ ต่อไปอีก เช่น วัตถุดิบต่าง ๆ เครื่องจักร
และโรงงานที่ใช้ไปเพื่อการผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ เป็นต้น
ค. เกณฑ์คุณลักษณะของทรัพย์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
(1) สินค้าคงทน หมายถึง สินค้าที่สามารถนำมาบริโภคได้หลาย ๆ
ครั้ง โดยการเปลี่ยนแปลงลักษณะสภาพของสินค้าน้อยมาก เช่น เสื้อผ้า รถยนต์ พัดลม ตู้เย็น โทรศัพท์ หนังสือ เครื่องมือ เครื่องจักร เป็นต้น
(2) สินค้าไม่คงทน หมายถึง สินค้าที่สามารถบริโภคได้เพียงครั้ง
เดียวก็หมดลักษณะไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถนำจำนวนเดิมชิ้นเดิมมาบริโภคในลักษณะเดิมได้อีก สินค้าประเภทนี้มีหลายชนิด เช่
น อาหาร น้ำมันเชื้อเพลิง ยารักษาโรค เป็นต้น 

9.3 วงจรเศรษฐกิจ
      วงจรเศรษฐกิจ คือ วงจรแห่งความสัมพันธ์กันระหว่างหน่วยครัวเรือนกับ
หน่วยผลิตซึ่งเกิดจากการที่หน่วยผลิตต้องจัดหาปัจจัยการผลิตมาจากหน่วยครัวเรือนและจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าและบริการที่ผลิตได้ไปให้แก่หน่วยครัวเรือนด้วย
วงจรเศรษฐกิจอาจแบ่งได้เป็น 3 แบบใหญ่ ๆ คือ
(
1) วงจรเศรษฐกิจแบบการแลกเปลี่ยนสินค้าโดยตรง
(2) วงจรเศรษฐกิจแบบใช้เงินเป็นการแลกเปลี่ยน
(3) วงจรเศรษฐกิจแบบมีคนกลาง

 10. อุปสงค์ อุปทาน และราคาดุลภาพ
10.1 อุปสงค์ (Demand)
           ความหมาย
           อุปสงค์
หมายถึง ปริมาณความต้องการสินค้าและบริการจำนวนสูงสุดที่ผู้บริโภคมีอำนาจซื้อ ณ ระดับราคาหนึ่งในช่วงใดเวลาหนึ่ง อุปสงค์จะมองด้านผู้ซื้อเป็นหลัก
ตัวอย่างของอุปสงค์ เดือนมกราคมน้ำอัดลมขายขวดละ 5 บาท นักเรียนอาจซื้อดื่มวันละ 2 ขวด (อุปสงค์สูงสุดของนักเรียน) แต่เมื่อถึงเดือนเมษายน น้ำอัดลมขึ้นราคาเป็น ขวดละ 6 บาท นักเรียนอาจซื้อดื่มเพียงวันละ 1 ขวด เพราะถ้าดื่มวันละ 2 ขวดเหมือนเดิม นักเรียนจะมีเงินหรืออำนาจซื้อไม่เพียงพอ
กฎของอุปสงค์ (Law of Demand)
กฎของอุปสงค์ คือ เมื่อราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ปริมาณความต้องการสินค้าและบริการนั้นจะลดน้อยลง ในทางตรงกันข้าม เมื่อราคาสินค้าและบริการลดลง ปริมาณความต้องการสินค้าและบริการจะสูงมากขึ้น


การเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปสงค์ เปลี่ยนได้ 2 ทาง คือ
1. อุปสงค์เปลี่ยนแปลงอยู่บนเส้นเดิม เกิดจากราคาสินค้าที่เสนอซื้อเปลี่ยนแปลงเพียง อย่างเดียวเท่านั้น
2. เส้นอุปสงค์เปลี่ยนแปลงทั้งเส้น
2.1 อุปสงค์เพิ่มขึ้น เส้นจะชิดทางขวาของเส้นเดิม
2.2 อุปสงค์ลดลง เส้นจะชิดซ้ายของเส้นเดิม
อุปสงค์เพิ่ม อุปสงค์ลด

สาเหตุที่ทำให้อุปสงค์เปลี่ยนแปลงทั้งเส้น
1. รายได้ (Income)
- ถ้ารายได้เพิ่ม เส้นอุปสงค์จะเพิ่มชิดขวาของเส้นเดิม
- ถ้ารายได้ลด เส้นอุปสงค์จะลดลงชิดซ้ายของเส้นเดิม
2. รสนิยม (Taste)
- ถ้ารสนิยมในสินค้าสูง เส้นอุปสงค์จะเพิ่มชิดขวา
- ถ้ารสนิยมในสินค่าต่ำลง เส้นอุปสงค์จะเพิ่มชิดซ้าย
3. การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า อย่างอื่นที่ใช้ทดแทนกันได้หรือต้องใช้ร่วมกัน
4. การเปลี่ยนแปลงจำนวนและองค์ประกอบของประชากร
5. การโฆษณา
6. การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล
7. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาสินค้า
 

10.2 อุปทาน (Supply)
ความหมายอุปทาน
อุปทาน หมายถึง
ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการจำนวนสูงสุด ณ ระดับราคาหนึ่ง ในช่วงเวลาหนึ่ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า อุปทาน หมายถึง จำนวนสินค้าหรือบริการที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายจะเสนอขายในระดับราคาหนึ่ง ทั้งนี้เพราะตามปกติ เมื่อสินค้าหรือบริการมีราคาสูงขึ้น ผู้ขายก็เต็มใจที่จะนำสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ออกมาวางขายมากขึ้น แต่ถ้าราคาสินค้าและบริการลดลง ปริมาณสินค้าและบริการที่นำออกมาวางขายก็จะลดลงตามไปด้วย อุปทานจะมองด้านผู้ขายเป็นหลัก
ตัวอย่างของอุปทาน
ใน พ.ศ. 2550 อ้อยขายได้ราคาดี ดังนั้นในปี 2551 เกษตรกรจึงหันมาปลูกอ้อยเป็นจำนวนมากขึ้น ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าระดับราคาจะกำหนดอุปทาน
กฎของอุปทาน (Law of Supply)
กฎของอุปทาน คือ เมื่อราคาสินค้าและบริการต่ำ ผู้ผลิตหรือผู้ขายจะผลิตหรือนำสินค้าและบริการออกขายเป็นจำนวนน้อยในทางตรงกันข้ามเมื่อราคาสินค้าและบริการสูง ผู้ผลิตหรือผู้ขายจะผลิตหรือนำสินค้าและบริการออกขายมากขึ้น
กฎของอุปทานสามารถเขียนเป็นแผนภูมิได้ดังนี้
 ลักษณะของเส้นอุปทาน
- ทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา และมีความชันเป็นบวก
- แสดงถึงราคากับปริมาณเสนอขายเปลี่ยนแปลงทิศทางเดียวกัน


การเปลี่ยนแปลงของเส้นอุปทาน เปลี่ยนได้ 2 ทาง คือ
1. เส้นอุปทานเปลี่ยนแปลงอยู่บนเส้นเดิม เกิดจากราคาเสนอขายเปลี่ยนแปลงเพียงอย่างเดียว 2. เส้นอุปทานเปลี่ยนแปลงทั้งเส้น
2.1 อุปทานเพิ่มขึ้น เส้นอุปทานจะชิดขวาของเส้นเดิม
2.2 อุปทานลด เส้นอุปทานจะชิดซ้ายของเส้นเดิม
อุปทานเพิ่ม อุปทานลด

สาเหตุที่ทำให้อุปสงค์เปลี่ยนแปลงทั้งเส้น

1. ต้นทุนผลิต
- ถ้าต้นทุนการผลิตสินค้าสูง จะทำให้เส้นอุปทานลดลง
- ถ้าต้นทุนการผลิตสินค้าต่ำ จะทำให้เส้นอุปทานเพิ่มขึ้น
2. สภาพดินฟ้าอากาศ เช่น
- ถ้าสภาพดินฟ้าอากาศไม่ดีหรือฝนไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาลผลผลิตข้าวได้น้อยลง
อุปทานลดลง
- ถ้าสภาพดินฟ้าอากาศดี หรือฝนตกต้องตามฤดูกาล ผลผลิตข้าวจะได้มากขึ้น
อุปทานเพิ่มขึ้น
3. เทคนิคการผลิต
- ถ้าเทคนิคการผลิตดี อุปทานจะเพิ่มขึ้น
- ถ้าเทคนิคการผลิตไม่ดี อุปทานจะลดลง
4. ราคาสินค้าชนิดอื่น
สินค้าเป็นที่ต้องการมาก จะเกิดการกักตุนเพื่อการเก็งกำไร อุปทานลดราคาจะสูงขึ้น
5. จำนวนผู้ขาย
ถ้าผู้ขายมีมากอุปทานเพิ่ม

ความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และอุปทานต่อระดับสินค้าและบริการ
อุปสงค์และอุปทานมีความสัมพันธ์กับระดับราคาสินค้าและบริการ ดังปรากฏในแผนภูมิ ดังนี้
1. ถ้าอุปสงค์มากกว่าอุปทาน ราคาสินค้าและบริการจะสูงขึ้น

D > S P

2. ถ้าอุปสงค์น้อยกว่าอุปทาน ราคาสินค้าและบริการจะต่ำลง

D <S P
 10.3 ราคาและปริมาณดุลยภาพ
ความหมายของราคาและปริมาณดุลยภาพ
ราคา หมายถึง
มูลค่าของสินค้าและบริการที่คิดเป็นจำนวนเงินเพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนซื้อขาย
ราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพ
หมายถึง ราคาหรือปริมาณที่ผู้บริโภคพอใจที่จะซื้อหรือใช้ และผู้ผลิตหรือผู้ขายพอใจที่จะขายหรือผลิต ทั้งนี้เนื่องจากในตลาดที่มีการซื้อขายสินค้าอย่างเสรี ผู้ผลิตและผู้บริโภคย่อมจะพยายามแสวงหาประโยชน์ให้ตนเองมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กล่าวคือ ผู้บริโภคต้องการสินค้าราคาต่ำ ส่วนผู้ขายต้องการขายในราคาสูง ซึ่งจะทำให้ความต้องการสูงขึ้น สินค้าที่คงเหลือจึงสามารถให้หมดไปได้ ถ้าในขณะใดขณะหนึ่ง ราคาสินค้าต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับปริมาณความต้องการ สินค้าก็จะขาดแคลน ผู้ซื้อสินค้าในตลาดย่อมจะแย่งกันซื้อ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้ามีราคาสูงขึ้น เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น ความต้องการจะลดลง ซึ่งจะทำให้ส่วนที่ขาดแคลนหมายไปด้วย ในที่สุดก็จะถึงจุดดุลภาพ
1. จุดดุลยภาพ (จุด E)
ทำให้เกิดราคาดุลยภาพ คือ 25 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ผู้ผลิตเสนอขายเท่ากับราคาที่ผู้บริโภคต้องการซื้อพอดี และปริมาณดุลยภาพ คือ 5 (ก.ก.) ซึ่งเป็นปริมาณของสินค้าที่ผู้ผลิตเสนอขายและผู้บริโภคเสนอซื้อ ณ ระดับราคาดุลยภาพ
2. เส้น P1
ราคาสูงเกินไป (30 บาท) ทำให้อุปทานของผู้ผลิตสูง (7 ก.ก.) แต่อุปสงค์ของผู้บริโภคจะต่ำ (3 ก.ก.) ทำให้เกิดปัญหาอุปทานส่วนเกินอยู่เหนือจุด E ขึ้นไป สินค้าจะล้นตลาด ทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาลงในราคาดุลยภาพ (25 บาท)
3. เส้น P3
ราคาต่ำเกิดไป (20 บาท) ทำให้อุปทานของผู้ผลิตต่ำลงด้วย (3 ก.ก.) แต่อุปสงค์ของผู้บริโภคจะสูง (7 ก.ก.) ทำให้เกิดปัญหาอุปสงค์ส่วนเกินอยู่ใต้จุด E ลงมา สินค้าจะขาดตลาด ทำให้ผู้ผลิตขึ้นราคาสินค้าให้สูงขึ้นในราคาดุลยภาพ (25 บาท)

สรุปเรื่องราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพได้ดังนี้
1. ราคาสินค้าสูง อุปทานของผู้ผลิตสูง แต่อุปสงค์ของผู้บริโภคต่ำ
ราคาสินค้าต่ำ อุปทานของผู้ผลิตต่ำ แต่อุปสงค์ของผู้บริโภคสูง
ดังนั้น จึงต้องหาราคาดุลยภาพ คือ ราคาที่อุปสงค์และอุปทานเท่ากันพอดี เป็นราคาที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความต้องการตรงกัน และพอใจที่จะซื้อและขายซึ่งกันและกัน
2. ถ้าผลิตปริมาณมากเกินไป สินค้าจะเหลือ
ถ้าผลิตปริมาณน้อยเกินไป สินค้าจะขาดแคลน
ดังนั้น จึงต้องหาปริมาณดุลยภาพ
3. จุดดุลยภาพ คือ จุดที่ผู้บริโภคและผู้ผลิตพอใจจะซื้อและขายซึ่งกันและกัน ในปริมาณและราคาที่ตรงกัน

 ราคาดุลยภาพในตลาดแข่งขันสมบูรณ์
ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ การซื้อขายจะเป็นไปตามความพอใจของผู้ซื้อผู้ขายอย่างแท้จริง คือ
- ถ้าราคาสินค้าสูงขึ้น อุปทานจะเพิ่มขึ้น แต่อุปสงค์น้อยลง
- ถ้าราคาสินค้าต่ำลง อุปสงค์จะเพิ่มขึ้น แต่อุปทานน้อยลง
ในกรณีที่ราคาขายนั้นสูงกว่าหรือต่ำกว่า ราคาดุลยภาพ จะทำให้อุปสงค์และอุปทานไม่เท่ากัน เป็นผลทำให้เกิดอุปทานส่วนเกินหรืออุปสงค์ส่วนเกิด

ภาวะอุปทานส่วนเกิน
คือ ภาวะราคาสินค้าสูงกว่าราคาดุลยภาพ ทำให้จำนวนเสนอซื้อมีมากกว่าจำนวนต้องการซื้อจึงเกิดอุปทานส่วนเกิน
ภาวะอุปสงค์ส่วนเกิน คือ ภาวะราคาสินค้าต่ำกว่าราคาดุลยภาพ ทำให้จำนวนต้องการซื้อมีมากกว่าจำนวนเสนอขาย ทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน

การควบคุมและการแทรกแซงราคาโดยรัฐบาล

1. การกำหนดราคาสูงสุด เกิดจากสินค้าเกิดการขาดแคลน ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น จนเป็นเหตุให้ประชาชนเกิดความเดือดร้อน ทำให้รัฐบาลเข้ามาควบคุมราคาโดยการกำหนดราคาสูงสุดของสินค้านั้นไว้
2. การประกันราคาขั้นต่ำ เกิดจากราคาสินค้าลดต่ำลงจนเกิดผลกระทบต่อผู้ผลิต ทำให้รัฐบาลต้องเข้ามาควบคุมราคาโดยกำหนดให้มีการประกันราคาขั้นต่ำไว้
3. การพยุงราคา เป็นวิธีการที่รัฐบาลเข้ามาช่วยให้ราคาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งมีราคาสูงขึ้น เพื่อประโยชน์ของผู้ผลิตหรือผู้ขาย
 กลไกราคา
กลไกราคา
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในระดับราคาสินค้าอันเกิดจากแรงผลักดันของอุปสงค์และอุปทานเมื่อผู้ผลิตพยายามปรับปรุงการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค
เมื่อราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วความต้องการซื้อหรืออุปสงค์จะลดลงแต่อุปทานของสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น ราคาสินค้าและริหารจึงเป็นตัวแปรที่สำคัญในการกำหนดอุปสงค์ และอุปทาน กระบวนการปรับเปลี่ยนราคาเข้าสู่จุดดุลยภาพนี้เรียกว่า
“กลไกราคา”
ประเภทของตลาด
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์
ความหมาย ตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก สินค้าและบริการมีลักษณะและคุณภาพใกล้เคียงกันมาก ดังนั้นจึงไม่มีผู้ใดมีอิทธิพลในการกำหนดราคาและปริมาณของสินค้าและบริการ ราคาและปริมาณที่ซื้อขายกันถูกกำหนดโดยกลไกตลาด ตลาดซึ่งผู้ซื้อหรือผู้ขายมีอำนาจในการกำหนดราคา หรือปริมาณของสินค้าและบริการ โดยอำนาจในการกำหนดราคาหรือปริมาณจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความไม่สมบูรณ์ของตลาด เช่น ตลาดผูกขาด (monopoly) ที่มีผู้ผลิตและผู้ขายเพียงรายเดียว เป็นต้น
 ประเภทของตลาด
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์
ลักษณะ 1. มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก
2. สินค้าและบริการมีลักษณะและคุณภาพ
ใกล้เคียงกันมาก
3. ผู้ซื้อและผู้ขายแต่ละรายรู้ถึงสถานการณ์
ของตลาดเป็นอย่างดี
4. การเข้าหรือออกจากอุตสาหกรรม
ทำได้โดยเสรี 1. จำนวนผู้ซื้อและจำนวนผู้ขายมักมี
จำนวนไม่มากพอ
2. สินค้าและบริการมีลักษณะและ
คุณภาพแตกต่างกัน
3. การเข้า-ออกจากอุตสาหกรรม
ไม่สามารถทำได้โดยเสรี
การกำหนดราคา
เนื่องจากผู้ซื้อและผู้ขายแต่ละรายในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ต่างไม่มีอำนาจในการกำหนดราคา แต่ราคาสินค้าและบริการในตลาดถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดผู้ซื้อและผู้ขายทุกรายในตลาดจึงต้องซื้อขายตามราคมดังกล่าว ในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ ประเภทตลาดผูกขาด (monopoly) ผู้ผูกขาดมีอำนาจเต็มที่ในการกำหนดราคา
หรือปริมาณขายอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะไม่มีคู่แข่งส่วนตลาดผูกขาดไม่มีอำนาจกำหนดราคาตามความต้องการของตนเอง แต่รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดราคา เช่น ค่าโดยสารรถไฟ ค่าน้ำ ค่าประปา เป็นต้น


animated gifs
หน่วยที่ 1

หน่วยที่ 2
animated gifs

หน่วยที่ 3
animated gifs

animated gifs
หน่วยที่ 4

หน่วยที่ 5
animated gifs



 
คู่มือการใช้
ชุดการเรียน 
เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง 

หน่วยที่ 3 ขั้นตอนการปฏิบัติสู่วิถีเศรษฐกิจ
พอเพียง
หน่วยที่ 4 การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หน่วยที่ 5 ตัวอย่างการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในองค์กร
แบบประเมินตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 1
แบบประเมินตนเอง
ก่อนเรียน หน่วยที่ 2

แบบประเมินตนเอง
ก่อนเรียน หน่วยที่ 3
แบบประเมินตนเอง
ก่อนเรียน หน่วยที่ 4
แบบประเมินตนเอง
ก่อนเรียน หน่วยที่ 5

เรียนอย่างมีความสุข 
นะคะ.....
ครูปานใจ จิรวัชรเดช

animated gifs

   animated gifs         animated gifsanimated gifs


จดหมายข่าว
ครูปานใจ
Today, there have been 1 visitors (2 hits) on this page!
โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย สพม. เขต 31 หมายเลขโทรศัพท์ 044-214557-8 Fax 044-214440 This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free