โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
หน้าหลัก
เวปไซด์ราชสีมาวิทยาลัย
ห้องเรียนภูมิศาสตร์
ห้องเรียนเศรษฐศาสตร์
ห้องเรียนพุทธศาสนา
ห้องเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
ห้องเรียนพลศึกษาครูกมล
ห้องเรียนญี่ปุ่น ครูทิพย์วรรณ
วันแห่งความรัก
Games Room :Tic Tac Toe
สมุดเยี่ยม
บอร์ดคุยกับครูปานใจ
ร.ส. แชทรูม
สะเก็ดข่าว ชาวแสด-ขาว
Gallery Picture
ส32101(เศรษฐศาสตร์)
ครูดีเด่น

BANGKOK TIME
Hit Counter by Digits
ห้องเรียนภูมิศาสตร์


 animated gifs
สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับสู่ห้องเรียนภูมิศาสตร์....               ครูปานใจ

 มีปัญหาปรึกษาครูที่อีเมลนี้ค่ะE-mail : panka.k@hotmail.com         
      

 animated gifs
ภูมิศาตร์ประเทศไทยanimated gifs

animated gifsภาคเหนือ

animated gifsภาคกลาง

animated gifsภาคตะวันออก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคตะวันตก

ภาคใต้

โครงสร้างทางธรณีวิทยาของประเทศไทย

                ลักษณะทางธรณีวิทยาของประเทศไทย เป็นโครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบโค้งงอ ( Folded Belt ) และถูกตัดด้วยรอยเลื่อน ( Faulte ) และมีการ แทรกซ้อนของหินแกรนิต ตามช่องว่าง ต่อมาบริเวณรอยคดโค้งเหล่านั้น ถูกแปรสภาพด้วยความร้อนและแรงกดดัน ทำให้ชิ้นหินบางส่วนกลายเป็นหินแกรนิต เขตทิวเขาทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ เป็นภูเขาที่ประกอบด้วยหินชั้นและหินแปรที่เป็นแบบโครงสร้างคดโค้ง (Folded Belt ) ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุ ในมหายุคพาลีโอโซอิก ( Palaozoie ) ที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่ประกอบด้วยหินทราย และชั้นหินดินดานของมหายุค พาลีโอโซอิก ( Palaozoie ) ส่วนบริเวณตามขอบตะวันตก และตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบสูงโคราช และทิวเขา ภาคตะวันออกจะมีชั้นหินที่มีโครงสร้างโค้งงอ ของมหายุค พาลีโอโซอิก ( Palaozoie ) บริเวณภาคกลางของ ประเทศไทยเป็นแอ่งแผ่นดิน ( Basin ) ขนาดใหญ่เป็นที่สะสมของ ชั้นตะกอน อายุอ่อนคือ ชั้นหินมหายุค ซีโนโซอิค ( Cenozoic ) ซึ่งประกอบด้วยชั้นตะกอนของ ยุคเทอร์เชียรี ( Tertiary ) และตอนบนของชั้นตะกอนเหล่านี้จะถูกปกคลุมทับถม ด้วยตะกอน กรวด หิน ของยุคควอเตอร์นารี( Quaternary )









  
ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย
ถ้าพิจารณาจากแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศของไทยจะเห็นว่า ภูมิประเทศของไทยแบ่งออกได้เป็น 6 เขตดังนี้คือ
                   1.เขตภูเขาและที่ราบระหว่างภูเขาภาคเหนือ ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเขตนี้มีลักษณะเป็นทิวเขา ภูเขา หุบเขาและแอ่งแผ่นดินระหว่างภูเขา มีความสูงชัน จากบริเวณ ตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วค่อย ๆ ลาดต่ำลงมาสู่ที่ราบต่ำ บริเวณตะวันออกเฉียงใต้และตอนกลางแล้วค่อย ๆ สูงขึ้นอีกทางบริเวณตะวันออกและตะวันออก เฉียงเหนือในเขต จ.น่าน คือ แถบเทือกเขา หลวงพระบาง บริเวณที่สูงเหล่านี้นับเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย ที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงทางด้านเหนือ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านใต้และ ลงสู่ลุ่มน้ำสา ละวินทาง ตะวันตก หุบเขาและแอ่งแผ่นดินที่แม่น้ำเหล่านี้ไหลผ่าน จะเกิดที่ราบดินตะกอนที่แม่น้ำไหลพามาทับถม เป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์เหมาะ ในการเพาะปลูกและการตั้งถิ่นฐาน ทำให้กลายเป็นแหล่งชุมชนสำคัญของภาค
                  2.เขตที่ราบภาคกลาง ที่ราบภาคกลาง ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตอนกลางและตอนล่างทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาและสาขาที่ไหลมา จากที่สูงโดย รอบแล้วไหลลงสู่อ่าวไทยที่อยู่ตอนใต้ของภาค ภูมิประเทศของที่ราบภาคกลาง เป็นที่ราบดินตะกอนที่หนาและกว้างขวางมากที่สุดของประเทศ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งที่ราบดินตะกอนตอนล่าง มีบริเวณกว้างขวางมาก แต่ในบริเวณที่ราบนี้ยังมีที่ราบลูกฟูกและภูเขาโดดเหลืออยู่ โดยเฉพาะอาจเป็นภูเขาหินที่แข็งแกร่งหรือที่เคย เป็นเกาะมาก่อน สันนิษฐานว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของ ที่ราบภาคกลางในอดีตเคยอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลต่อมาระดับน้ำทะเลลดต่ำลง ประกอบกับพื้นดินยกสูงขึ้น รวมทั้งการ กระทำของแม่น้ำหลาย สายซึ่งมีทั้งการกัดเซาะ สึกกร่อนและทับถม พอกพูน จึงทำให้บริเวณนี้กลายเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่และเป็นแหล่งเกษตรกรรมสำคัญของประเทศ
                3.เขตภูเขาสูงภาคตะวันตก ลักษณะของภูมิประเทศส่วนใหญ่จะเป็นทิวเขา หุบเขา แต่ไม่มีที่ราบระหว่างภูเขาเหมือนทางภาคเหนือ และที่ราบไม่กว้างขวาง เหมือนภาคกลาง ภูมิประเทศของเขตนี้ประกอบด้วย ทิวเขาที่ยาวต่อเนื่องมาจากทิวเขาทาง ภาคเหนือลงไปจน ถึงทิวเขาในคาบสมุทรภาคใต้ เป็นทิวเขาสลับหุบเขาแคบ ๆ มีลำน้ำไหลขนานตามแนวของทิวเขาจาก บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือมายังตะวันออกเฉียงใต้
        
                4.เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งภาคตะวันออก
ลักษณะภูมิประเทศจะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำทางตอนเหนือ เป็นทิวเขาและที่ราบลูกฟูกทางตอนกลางและมีที่ราบ ชายฝั่งทะเลทางใต้ โดยมีแม่น้ำสายสั้น ๆ ไหลจากทิศเหนือไปทางใต้ลงสู่อ่าวไทย ชายฝั่งทะเลของเขตนี้ เป็นชายฝั่งที่มีลักษณะเว้าแหว่งและเต็มไปด้วยเกาะใหญ่น้อย เป็นเกาะที่ปกคลุมด้วย ป่าไม้และหาดทรายสวยงาม
                5.เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภูมิประเทศทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะแยก จากภาคเหนือและภาคกลางอย่างเด่นชัด ทั้งนี้เพราะ การยกตัวของแผ่นดิน ด้านตะวันตก และด้านใต้ ทำให้เกิดขอบสูงชันตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ด้านตะวันตก ส่วนทางด้านใต้ก็เป็นขอบสูงชันตามแนวทิวเขา สันกำแพง และพนมดงรัก บริเวณตอนกลางของเขตนี้มีลักษณะเป็นแอ่งคล้าย ๆ ก้นกะทะ เรียกว่า แอ่งโคราช มีแม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลผ่าน ยังมีที่ราบโล่งอยู่หลายแห่ง เช่น ทุ่งกุลาร้องไห้ ทุ่งหมาหิว โดยมีแนวทิวเขาภูพานทอด โค้งยาวค่อนไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของภาค ถัดเลยจากแนวทิวเขาภูพานไปทางเหนือมีแอ่งทรุดต่ำ ของแผ่นดินเรียกว่า แอ่งสกลนคร ส่งผลให้พื้นที่หลายแห่งได้กลายเป็นหนองน้ำ เช่น หนองหานใน จ.สกลนคร หนองประจักษ์ใน จ.อุดรธานี หนองญาติใน จ.นครพนม เป็นต้น พื้นที่ราบสูงจะยกตัวสูงทางบริเวณตะวันตกและทางใต้ และลาดเอียงไปทาง ตะวันออกเฉียงใต้ลงสู่แม่น้ำโขง แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านเขตที่ราบสูง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูลและสาขาใหญ่น้อย ซึ่งไหลจากบริเวณตะวันตก ลงสู่ลำน้ำโขง ทางตะวันออก
              6.เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งคาบสมุทรภาคใต้ ภูมิประเทศเขตนี้มีลักษณะเป็นคาบสมุทรแคบและยาว ถูกขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้าน คือ อ่าวไทยทาง ด้านตะวันออกและ ทะเลอันดามันทางด้านตะวันตก ประกอบด้วยทิวเขาที่เป็นแกนของคาบสมุทรและที่ราบชายฝั่งทะเลที่ลาดลงสู่ทะเลทั้งสองด้าน โดยที่ราบด้าน ชายฝั่งตะวันออกกว้างขวาง กว่าทางฝั่งตะวันตก ชายฝั่งด้านตะวันออกเป็นชายฝั่งที่ราบเรียบและยกตัวสูง มีหาดทรายสวยงามหลายแห่ง ส่วนชายฝั่งทะเลด้าน ตะวันตกเป็นชายฝั่งทะเลจมตัว ทำให้ฝั่งทะเลขรุขระเว้า ๆ แหว่ง ๆ มีเกาะใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก 

animated gifs
animated gifsช่วงนี้นักเรียนมีกิจกรรมมาก ครูมีแบบฝึกหัดให้ฝึกทักษะการคิดนิดหน่อย
นักเรียนทำในกระดาษหรือส่งทาง mail ก็ได้ค่ะ
 
คำชี้แจง
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด พร้อมคำอธิบายสั้น ๆ ที่เลือกคำตอบนั้น
(ข้อละ 2 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 40 คะแนน  ค่ะ)
แบบฝึกหัด
วิชาสังคมศึกษา 3 ส42101 (ภูมิศาสตร์)
หน่วยที่ 1 การแสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์animated gifs
1. วิธีที่ละเอียดที่สุดที่ใช้ในปัจจุบันเพื่อแสดงความสูงและรูปลักษณะภูมิประเทศคือข้อใด
                1. การใช้ลายเส้น                                                           2. การใช้เส้นชั้นความสูง
                3. การใช้เส้นลายขวานสับ                                             4. การแสดงด้วยแถบสี
คำอธิบาย ........................................................................................................................
2. การกำหนดตำแหน่งโดยอาศัยพิกัดทางภูมิศาสตร์ เป็นการกำหนดตำแหน่งของจุดต่าง ๆ โดยอาศัยอะไร
                1. มุมและทิศ                                                                  2. ละติจูดและลองจิจูด
                3. การแสดงความสูงและทรวดทรง                                4. มาตราส่วนและแผนที่
คำอธิบาย ........................................................................................................................
 
3. แผนที่ 1 : 50,000 แสดงเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา จัดอยู่ในแผนที่มาตราส่วนขนาดใด
                1. มาตราส่วนใหญ่                                                           2. มาตราส่วนปานกลาง
                3. มาตราส่วนเล็ก                                                             4. ใช้ได้กับทุกมาตราส่วน
คำอธิบาย ........................................................................................................................
 
4. ที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ระหว่างละติจูดที่เท่าใด
                1. 5 องศา 37 ลิปดา เหนือ ถึง 20 องศา 27 ลิปดา เหนือ
                2. 4 องศา 37 ลิปดาเหนือ ถึง 19 องศา 27 ลิปดา เหนือ
                3. 97 องศา 22 ลิปดา ตะวันออก ถึง 105 องศา 37 ลิปดา ตะวันออก
                4. 98 องศา 22 ลิปดา ตะวันออก ถึง 104 องศา 37 ลิปดา ตะวันออก
คำอธิบาย ........................................................................................................................
5. ระบบ GPS เป็นการนำคลื่นสัญญาณดาวเทียมมาใช้ประโยชน์ในด้านใด
                1. การถ่ายภาพทางอากาศ                                 2. ถ่ายทอดสัญญาณภาพทางโทรทัศน์
                3. บอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ บนพื้นโลก           4. เทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
คำอธิบาย ........................................................................................................................
 
หน่วยที่ 2 ปฏิสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์animated gifs
6. ส่วนใดของโลกที่มีสภาพเป็นของแข็งเชื่อว่าเป็นโลหะเหล็กและนิกเกิลที่อัดตัวกันแน่นมีความหนาประมาณ 2,512 กิโลเมตร
                1. ชั้นเปลือกโลก                                                 2. ชั้นเนื้อโลก
                 3. แก่นโลกชั้นนอก                                             4.  แก่นโลกชั้นใน
คำอธิบาย ........................................................................................................................
 
7. ถ้าที่จังหวัดนครราชสีมาอุณหภูมิ ณ ขณะนั้นวัดได้ 25 องศาเซลเซียส   สูงจากพื้นดินขึ้นไปประมาณ 2 กิโลเมตร อุณหภูมิ ณ จุดนั้นประมาณเท่าใด
                1.   7 องศาเซลเซียส ถึง 1 องศาเซลเซียส                       2. 13 องศาเซลเซียส ถึง 9 องศาเซลเซียส
                3. 19 องศาเซลเซียส ถึง 17 องศาเซลเซียส                    4. 27 องศาเซลเซียส ถึง 23 องศาเซลเซียส
คำอธิบาย ........................................................................................................................
 
8. แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญเช่น แพะเมืองผี เสาดิน โป่งยุบ เป็นปรากฎการณ์ทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทย ที่เกิดขึ้นได้อย่างไร
                1. การกระทำที่เกิดจากกระบวนการภูเขาไฟ                2. การกระทำที่เกิดจากกระบวนการยกตัว
                3. การกระทำของแรงน้ำไหล                                       4. การกระทำของอุณหภูมิ น้ำ ลม
คำอธิบาย ........................................................................................................................
 
9. ภูมิประเทศตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำมีลักษณะเรียงลำดับกันอย่างไร
                1. ที่ราบลุ่ม ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม ที่ราบดินตะกอนรูปพัด
                2. ที่ราบดินตะกอนรูปพัด   ที่ราบลุ่ม   ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม
                3. ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม ที่ราบดินตะกอนรูปพัด   ที่ราบลุ่ม
                4. ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม   ที่ราบลุ่ม   ที่ราบดินตะกอนรูปพัด
คำอธิบาย ........................................................................................................................
 
 
10. ข้อใดเป็นลักษณะที่ถูกต้องของแต่ละภูมิภาค
                1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีภูมิประเทศเป็นแอ่งที่ราบ ทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์ แต่มีปัญหา
                      ดินเค็ม
                2. ภาคกลางมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ เป็นแหล่งเกษตรกรรม ทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์         แต่มีปัญหาดินเปรี้ยว
                3. ภาคตะวันตกมีภูมิประเทศเป็นทิวเขาสลับหุบเขา ปริมาณน้ำฝนน้อย ทรัพยากรธรรมชาติ
                   ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์
                4. ภาคตะวันตกมีภูมิประเทศตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่ม ฝนตกชุก ดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์
คำอธิบาย ........................................................................................................................
 
11. ข้อใดที่อธิบายลักษณะภูมิประเทศ ไม่ถูกต้อง
                 1. ทิวเขาหินปูนจะมียอดเขาแหลมหยิกหยัก
                 2. ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยเป็นชายฝั่งทะเลจมตัว    
                3. การโก่งตัวของทิวเขาในภาคเหนือทำให้เทือกเขาในภาคเหนือเป็นแนวยาวจากเหนือจรดใต้
                4. ดินดอนสามเหลี่ยมของที่ราบภาคกลางเกิดจากดินตะกอนแม่น้ำ
คำอธิบาย ........................................................................................................................
 
 
12. มวลอากาศร้อนชื้นจากทะเลจีนใต้เคลื่อนที่ผ่านประเทศไทย มาปะทะกับมวลอากาศเย็นและแห้ง
       จากประเทศจีนอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดลักษณะอากาศอย่างไร
                1. อากาศอบอ้าว ท้องฟ้ามืดครึ้มตลอดวัน                      2. อากาศแปรปรวน มีฝนตกมาก
                3. ท้องฟ้าแจ่มใส ลมพัดแรง                                            4. ท้องฟ้ามืด มีฝนตกเล็กน้อย
คำอธิบาย ........................................................................................................................
 
หน่วยที่ 3 วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมanimated gifs
13. ความเสียหายในข้อใดเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ของไทยที่ถือว่าเป็นปัญหาร้ายแรงที่สุด
                1. ไฟไหม้ป่า                                                                    2. การตัดไม้และปลูกทดแทน
                3. การบุกรุกป่าเป็นที่เพาะปลูก                                        4. การถูกแมลงทำความเสียหาย
คำอธิบาย ........................................................................................................................
 
 
 
14. สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นบทเรียนของปัญหาวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในข้อใด
                1. มลพิษจากขยะและสิ่งปฏิกูล                                            2. มลพิษทางน้ำ
                3. มลพิษทางเสียง                                                               4. มลพิษของอากาศและกลิ่น
คำอธิบาย ........................................................................................................................
 
15. ปฏิกิริยาเรือนกระจกเกิดจากสาเหตุใด
                1. การเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เนื่องจากมีการเผาไหม้เชื้อเพลิง
                2. การมีสารพิษตกค้างและถูกปนเปื้อนมากับฝน
                3. โรงงานอุตสาหกรรมเผาถ่านหิน                               
4. การที่อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้นเนื่องจากฝุ่นควัน
คำอธิบาย ........................................................................................................................
 
16. น้ำจัดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่มีอยู่ทั่วไปเกือบทุกแห่ง แต่ปัญหาขาดแคลนน้ำก็ยังคงเกิดขึ้น
        เพราะเหตุใด
                1. ราคาน้ำบริสุทธิ์แพงขึ้น                                          2. หาคุณภาพน้ำตามต้องการไม่ได้
                3. น้ำเสียจากครัวเรือนและโรงงานเพิ่มสูงขึ้น             4. โลกทวีความแห้งแล้งขึ้นทุกวัน
คำอธิบาย ........................................................................................................................
 
17. กรมพัฒนาที่ดินได้ปลูกหญ้าแฝกครอบคลุมพื้นที่ 69 จังหวัด เพื่อป้องกันหรือแก้ไขปัญหาใด
                1. ดินเค็ม                                                                    2. ดินเป็นกรด
                3. การพังทลายของดิน                                               4. สารแคดเมียมในดิน
คำอธิบาย ........................................................................................................................
 
หน่วยที่ 8 พระพุทธศาสนาanimated gifs
18. ข้อความที่ว่า “อย่าเชื่อโดยเห็นว่าผู้นี้เป็นครูอาจารย์ของเรา” ดังนี้ จะสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์อย่างไร
                1. ให้รู้จักคิดให้เห็นจริงด้วยเหตุผล                                2. ไม่ให้เชื่อในสิ่งที่ตนยังไม่รู้
                3. ให้คิดหาความรู้ด้วยตนเอง                                         4. ไม่ให้เชื่อตามที่ผู้อื่นบอก
คำอธิบาย ........................................................................................................................
 
 
 
19. หลักการทางพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์มีจุดมุ่งหมายสอดคล้องกันในข้อใดมากที่สุด
                1. ให้เป็นคนมีเหตุผล                                                        2. ให้เป็นคนหนักแน่น
                3. ให้เป็นคนรอบคอบ                                                       4. ให้เป็นคนใจคอกว้างขวาง
คำอธิบาย ........................................................................................................................
 
20. ข้อใดเป็นสัจจธรรม
                1. ทุกคนมีความดีมากกว่าความชั่ว                   2. ทำดีทำง่าย ทำบาปทำยาก
                3. ทำดีอาจจะได้ดีหรือไม่ได้ดีก็ได้                   3. ทำดีได้ดี
คำอธิบาย ........................................................................................................................
 
animated gifsคิดให้รอบคอบก่อนตอบนะศิษย์หนา   animated gifs รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี)
ด้วยความปรารถนาดีจากคุณครูKak
 
กระดาษคำตอบวิชาสังคมศึกษา ส 42101 ( ภูมิศาสตร์ ) 20 ข้อ 40 คะแนน
ชื่อ-สกุล ....................................... เลขที่ ......... ชั้น .......................E-Mail:………………………….
animated gifsคำชี้แจง     ให้นักเรียนกาเครื่องหมาย (X) ในช่องตัวเลือกที่ถูกต้อง กำหนดการให้คะแนน ตัวเลือก
                       ข้อละ 1 คะแนน  คำอธิบาย ข้อละ 1 คะแนน 
ข้อ
          ตัวเลือก
คำอธิบาย 
1
2
3
4
1
 
 
 
 
 
2
 
 
 
 
 
3
 
 
 
 
 
4
 
 
 
 
 
5
 
 
 
 
 
6
 
 
 
 
 
7
 
 
 
 
 
8
 
 
 
 
 
9
 
 
 
 
 
10
 
 
 
 
 
11
 
 
 
 
 
12
 
 
 
 
 
13
 
 
 
 
 
14
 
 
 
 
 
15
 
 
 
 
 
16
 
 
 
 
 
17
 
 
 
 
 
18
 
 
 
 
 
19
 
 
 
 
 
20
 
 
 
 
 
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากการทำแบบทดสอบanimated gifs
.................................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
       animated gifs
                                        กระดาษคำตอบให้นักเรียนคัดลอกไป วางที่โปรแกรมเวิร์ด  แล้วพิมพ์คอบที่ถูกต้อง
                                       
พร้อมคำอธิบาย แนบไฟล์ส่งทางเมลล์  รีบส่งนะคะ ..
                                         ครูปานใจ  จิรวัชรเดช...


เศรษฐกิจพอเพียง
 ตามแนวพระราชดำริ....
ครูปานใจ จิรวัชรเดชanimated gifs

animated gifsชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเศรษฐกิจพอเพียง
ตามแนวพระราชดำริ

 

“เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy

...คำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ

จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่

...Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำรา

เพราะหมาย.....


animated gifs
หน่วยที่ 1animated gifs

หน่วยที่ 2
animated gifs

หน่วยที่ 3
animated gifs

animated gifs
หน่วยที่ 4

หน่วยที่ 5
animated gifs

animated gifs





จดหมายข่าว
ครูปานใจ
Today, there have been 6 visitors (8 hits) on this page!
โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย สพม. เขต 31 หมายเลขโทรศัพท์ 044-214557-8 Fax 044-214440 This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free