โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
หน้าหลัก
เวปไซด์ราชสีมาวิทยาลัย
ห้องเรียนภูมิศาสตร์
ห้องเรียนเศรษฐศาสตร์
ห้องเรียนพุทธศาสนา
=> ศาสนา หน่วยที่ 1
=> ศาสนา หน่วยที่ 2
=> ศาสนา หน่วยที่ 3
ห้องเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
ห้องเรียนพลศึกษาครูกมล
ห้องเรียนญี่ปุ่น ครูทิพย์วรรณ
วันแห่งความรัก
Games Room :Tic Tac Toe
สมุดเยี่ยม
บอร์ดคุยกับครูปานใจ
ร.ส. แชทรูม
สะเก็ดข่าว ชาวแสด-ขาว
Gallery Picture
ส32101(เศรษฐศาสตร์)
ครูดีเด่น

BANGKOK TIME
Hit Counter by Digits
ศาสนา หน่วยที่ 1

animated gifs  

 animated gifs

สวัสดีค่ะ  
         ลำดับแรก  ครูขอแนะนำให้ทุกคนรู้จัก  ห้องเรียนพระพุทธศาสนา หน่วยการเรียนที่ 1 
...ศึกษาเพิ่มเติมหน่วยการเรียนต่อไป..
   

                          คำชี้แจง

                 เอกสารชุดการเรียนด้วยตนเอง สาระพระพุทธศาสนาช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ชุดนี้ มุ่งหวังที่จะเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและหลักพุทธธรรมอย่างถูกต้อง เห็นคุณค่าของพระรัตนตรัย เกิดศรัทธา และความสำนึกในความสำคัญของพระพุทธศาสนา ในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์และมรดกประชาชาติ สามารถปฏิบัติตนตามหน้าที่ชาวพุทธได้อย่างถูกต้อง และเป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมได้
                ชุดการเรียนด้วยตนเองชุดนี้ประกอบด้วยเอกสาร 10 ฉบับ ดังนี้
เล่มที่ 1 หน่วยที่ 1 ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา
เล่มที่ 2 หน่วยที่ 2 พุทธประวัติ พระสาวก ชาดก และชาวพุทธตัวอย่าง
เล่มที่ 3 หน่วยที่ 3 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
เล่มที่ 4 หน่วยที่ 4 พระไตรปิฎก พุทธศาสนสุภาษิตและคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา
เล่มที่ 5 หน่วยที่ 5 หน้าที่ชาวพุทธ และมารยาทชาวพุทธ
เล่มที่ 6 หน่วยที่ 6 การบริหารจิต และการเจริญปัญญา
เล่มที่ 7 หน่วยที่ 7 ศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนา
เล่มที่ 8 หน่วยที่ 8 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
เล่มที่ 9 หน่วยที่ 9 สัมมนาพระพุทธศาสนา
เล่มที่ 10 หน่วยที่ 10 คู่มือการใช้ชุดการเรียนด้วยตนเอง
               ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุดการเรียนด้วยตนเองชุดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนของนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพได้

ปานใจ จิรวัชรเดช
ผู้จัดทำ


              แนวทางการศึกษา

การศึกษาเนื้อหาสาระของหน่วยนี้ ให้นักเรียนปฏิบัติ ดังนี้

1. ศึกษาขอบข่ายของเนื้อหาสาระสำคัญ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2. ทำแบบประเมินตนเองก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐาน
3. ศึกษาเนื้อหาสาระโดยละเอียดทีละเรื่อง และทำกิจกรรมท้ายเรื่อง
4. ทำแบบประเมินตนเองหลังเรียน เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าหลังเรียน ถ้าได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 80 ให้กลับไปทบทวนความรู้เพิ่มเติม จนกว่าจะได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80


                                 

animated gifsหน่วยการเรียนที่ 1animated gifs     หน่วยการเรียนที่ 2                        หน่วยการเรียนที่ 3
 
ขอบข่ายของเนื้อหา สาระสำคัญ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ขอบข่ายของเนื้อหา
animated gifsเรื่องที่ 1 หลักประชาธิปไตย ในพระพุทธศาสนา
animated gifsเรื่องที่ 2 หลักการของพระพุทธศาสนา กับหลักวิทยาศาสตร์
animated gifsเรื่องที่ 3 พระพุทธศาสนาเน้นการฝึกอบรมตน การพึ่งตนเอง และการมีอิสรภาพ
animated gifsเรื่องที่ 4 การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา และการคิดตามแบบวิทยาศาสตร์
animated gifsเรื่องที่ 5 วิธีสอน และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามแนวพุทธจริยา

สาระสำคัญ
1. หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา ทางพระพุทธศาสนาจำแนกไว้ 3 ลักษณะ คือ อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย และธรรมาธิปไตย
2. หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์ มีข้อที่เหมือนกันในหลักความเชื่อ หลักเหตุผล หลักความเป็นสากลของสิ่งทั้งหลาย และหลักการปฏิกิริยาลูกโซ่ และมีข้อต่างกันตรงหลักของพระพุทธศาสนาเน้นด้านจิตใจ ส่วนหลักวิทยาศาสตร์เน้นด้านวัตถุ
3. พระพุทธศาสนาเน้นการฝึกอบรมตน การพึ่งตนเอง และการมีอิสรภาพ
- การฝึกอบรมตน พระพุทธศาสนามีหลักการฝึกอบรมตน ทั้งร่างกาย และจิตใจควบคู่กัน
- การพึ่งตนเอง ยึดหลักที่ว่า ตนเองเป็นผู้กำหนดชีวิตตนเอง
- การมุ่งอิสรภาพ เน้นการปฏิบัติธรรมอย่างมีสติปัญญา ไม่หลงใหล หรือติดยึดอยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใด
4. การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา และการคิดตามแบบวิทยาศาสตร์ โดยคิดตามแนวหลักความเชื่อ หลักแห่งเหตุผล หลักความเป็นสากลของสิ่งทั้งหลาย และหลักปฏิกิริยาลูกโซ่
5. วิธีสอนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามแนวพุทธจริยา แบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ โลกัตถจริยา ญาตัตถจริยา และพุทธัตถจริยา

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เมื่อได้ศึกษาหน่วยที่ 1 จบแล้วนักเรียนสามารถ
1. เข้าใจและวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักการของพระพุทธศาสนา และหลักของวิทยาศาสตร์ได้
2. นำวิธีการฝึกอบรมตนในการเป็นที่พึ่งของตนเอง และมุ่งหาอิสรภาพไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
3. อธิบายวิธีการสอนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยาได้ 

ศึกษาหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 animated gifs


ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา 

ประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนานั้นกล่าวเป็น 2 หัวข้อใหญ่ๆ คือ หลักประชาธิปไตยโดยทั่วๆ ไปในพระพุทธศาสนา และการที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ในกิจการทั้งปวง โดยเฉพาะในการทำ สังฆกรรม ซึ่งมีลักษณะคล้ายการประชุมรัฐสภาของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
1. หลักประชาธิปไตยทั่วไปในพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประชาธิปไตยมาตั้งแต่เริ่มแรก ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงมอบให้พระสงฆ์เป็นใหญ่ในกิจการทั้งปวงเสียอีก ลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนามีตัวอย่างดังต่อไปนี้
1.1 พระพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด พระธรรม คือ
คำสอนที่พระพุทธเจ้าแสดงพระวินัยคือ คำสั่งอันเป็นข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้น เมื่อรวมกันเรียกว่า พระธรรมวินัย ซึ่งมีความสำคัญขนาดที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้เป็นศาสดาแทนพระองค์ก่อนที่พระองค์ จะปรินิพพานเพียงเล็กน้อย
1.2 มีการกำหนดลักษณะของศาสนาไว้เรียบร้อยไม่ปล่อยไปตามยถากรรม ลักษณะของ
พระพุทธศาสนา คือทางสายกลาง ไม่ซ้ายสุด ไม่ขวาสุด ทางสายกลางนี้เป็นครรลอง อาจปฏิบัติค่อนข้างเคร่งครัดก็ได้ โดยใช้สิทธิในการแสวงหาอดิเรกลาภตามที่ทรงอนุญาตไว้ ในสมัยต่อมา เรียกแนวกลางๆ ของพระพุทธศาสนาว่า วิภัชชวาท คือศาสนาที่กล่าวจำแนกแจกแจง ตามความเป็นจริงบางอย่างกล่าวยืนยันโดยส่วนเดียวได้ บางอย่างกล่าวจำแนกแจกแจงเป็นกรณีๆ ไป
1.3 พระพุทธศาสนามีความเสมอภาคภายใต้พระธรรมวินัย บุคคลที่เป็นวรรณะกษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร มาแต่เดิม รวมทั้งคนวรรณะต่ำกว่านั้น เช่น พวกจัณฑาล คนเก็บขยะ และพวกทาส เมื่อเข้าอุปสมบทในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว มีความเท่าเทียมกัน คือปฏิบัติตามสิกขาบทเท่ากัน และเคารพตามลำดับอาวุโส คือผู้อุปสมบทหลังเคารพผู้อุปสมบทก่อน
1.4 พระภิกษุในพระพุทธศาสนามีสิทธิ เสรีภาพภายใต้พระธรรมวินัย เช่น ในฐานะภิกษุ
เจ้าถิ่นจะมีสิทธิได้รับของแจกก่อนภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันมีสิทธิได้รับของแจกตามลำดับพรรษามีสิทธิรับกฐิน และได้รับอานิสงส์กฐินในการแสวงหาจีวร 4 เดือนฤดูหนาวเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ยังมีเสรีภาพที่จะเดินทางไปไหนมาไหนก็ได้ จะเลือกปฏิบัติกรรมฐานข้อใดก็ได้ทั้งสิ้น
1.5 มีการแบ่งอำนาจ พระเถระผู้ใหญ่ทำหน้าที่บริหารปกครองหมู่คณะ การบัญญัติพระ
วินัย พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอง เช่น มีภิกษุผู้ทำผิดมาสอบสวนแล้วจึงทรงบัญญัติพระวินัย ส่วนการตัดสินคดีตามพระวินัยที่ทรงบัญญัติแล้วเป็นหน้าที่ของพระวินัยธรซึ่งเท่ากับศาล
1.6 พระพุทธศาสนามีหลักเสียงข้างมาก คือใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ตัดสิน เรียกว่า
วิธีเยภุยยะสิกา การตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก ฝ่ายใดได้รับเสียงข้างมากสนับสนุนฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะคดี

2. หลักประชาธิปไตยในการที่พระพุทธเจ้าทรงมอบความเป็นใหญ่ในสงฆ์
การมอบความเป็นใหญ่แก่สงฆ์มีลักษณะตรงกับหลักประชาธิปไตยหลายประการ ส่วนมากเป็นเรื่อง
สังฆกรรม คือการประชุมกันทำกิจสงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ การทำสังฆกรรมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ประการ ถ้าทำผิดพลาดประการใดประการหนึ่ง จะทำให้สังฆกรรมนั้นเสียไป ใช้ไม่ได้ ไม่มีผล คือเป็นโมฆะ ส่วนสำคัญ 5 ประการมีดังนี้
2.1 จำนวนสงฆ์อย่างต่ำที่เข้าประชุม
2.2 สถานที่ประชุมซึ่งเรียกว่า สีมา
2.3 การประกาศเรื่องที่ประชุม และการประกาศขอความเห็นชอบ
2.4 สิทธิของภิกษุผู้เข้าประชุม
2.5 มติที่ประชุม
2.1 จำนวนสงฆ์ผู้เข้าประชุม การกำหนดจำนวนสงฆ์ผู้เข้าประชุมอย่างต่ำว่าจะทำสังฆกรรมอย่างใดได้บ้าง มี 5 ประเภท
1) ภิกษุ 4 รูปเข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์จตุวรรค สามารถทำสังฆกรรมได้เกือบทุกชนิด เว้น
แต่การอุปสมบท หรือการบวชพระ การปวารณาหรือพิธีกรรมในวันออกพรรษาที่ทรงอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันและกัน และการสวดอัพภาน หรือการเพิกถอนอาบัติหนักของภิกษุบางรูป
2) ภิกษุ 5 รูปเข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค สามารถทำสังฆกรรมที่สงฆ์จตุวรรคทำ
ได้ทั้งหมด และยังมีการเพิ่มการทำปวารณา การอุปสมบทในชนบทชายแดนได้อีกด้วย
3) ภิกษุ 10 รูปเข้าประชุม เรียกว่าสงฆ์ทสวรรค สามารถทำสังฆกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรค
ทำได้ทั้งหมด และยังเพิ่มการอุปสมบทในมัชฌิมชนบท คือในภาคกลางของอินเดียได้ด้วย
4) ภิกษุ 20 รูปเข้าร่วมประชุม เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค สามารถทำสังฆกรรมได้ทุกชนิด
รวมทั้งสวดอัพภาน เพิกถอนอาบัติหนักด้วย
5) ภิกษุกว่า 20 รูปเข้าร่วมประชุม เรียกว่า อติเรกวีสติวรรค สามารถทำสังฆกรรมได้ทุก
ชนิดสำหรับประเพณีไทยนิยมนิมนต์ภิกษุเข้าประชุมให้เกินจำนวนอย่างต่ำของการทำสังฆกรรมนั้นๆ เสมอ เพื่อให้ถูกต้องอย่างไม่มีโอกาสผิดพลาดในเรื่องจำนวนสงฆ์
2.2 สถานที่ประชุม สถานที่ประชุมของสงฆ์เพื่อทำสังฆกรรมเรียกว่า สีมา แปลว่าเขตแดนสีมา หมายถึงพื้นดิน ไม่ใช่อาคาร อาคารจะสร้างเป็นรูปอย่างไรหรือไม่มีอาคารเลยก็ได้ สีมามี 2 ประเภท คือ พัทธสีมา สีมาที่ผูกแล้ว และอพัทธสีมา สีมาที่ไม่ต้องผูก
พุทธสีมามีหลายชนิดจะกล่าวเฉพาะวิสุงคามสีมา แปลว่าสีมาในหมู่บ้าน ซึ่งแยกออกต่างหากจากอาณาเขตของประเทศ การขอวิสุงคามสีมาต้องขอจากประมุขของรัฐ เมื่อขอแล้วทำพิธีพัทธสีมา สีมาที่ทำสังฆกรรมแล้วนี้จะคงอยู่ตลอดไป ยกเว้นจะทำพิธีถอนสีมา
อพัทธสีมามีมากมายหลายชนิดจะกล่าวเฉพาะสีมาน้ำที่เรียกว่า อุทกุกเขปสีมา แปลว่าสีมาชั่ววักน้ำสาด สีมาชนิดนี้ไม่ต้องผูกแต่สร้างอาคารหรืออยู่ในเรือนแพ อยู่ห่างจากฝั่ง 2 ชั่ววักน้ำสาด ทำสังฆกรรมได้เช่นเดียวกับวิสุงคามสีมา
การกำหนดสีมานี้เพื่อป้องกันไม่ให้ใครเข้ามายุ่งเกี่ยวทำให้สังฆกรรมเสียไป หรือมีเจตนามาทำลายสังฆกรรมโดยตรง เพราะภายในสีมานั้นสงฆ์มีอำนาจสิทธิ์ขาดใครจะอ้างเป็นเจ้าของไม่ได้
2.3 การประกาศเรื่องที่ประชุมและการประกาศขอความเห็นชอบ
สงฆ์จะประชุมกันทำสังฆกรรมเรื่องอะไรก็ตาม จะต้องมีการประกาศเรื่องนั้นให้สงฆ์ทราบ ผู้ประกาศมีรูปเดียวหรือ 2 รูปก็ได้ เรียกว่าคู่สวดหรือพระกรรมวาจารย์ เมื่อประกาศให้ทราบแล้ว ยังมีการประกาศขอความเห็นชอบจากสงฆ์อีก
ถ้าเป็นเรื่องไม่สำคัญนักมีการประกาศให้ทราบ 1 ครั้ง และประกาศขอความเห็นชอบอีก 1 ครั้ง เรียกว่า ญัตติทุติยกรรม เช่นการประกาศมอบผ้ากฐินแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ถ้าเป็นเรื่องสำคัญมาก มีการประกาศให้ทราบ 1 ครั้ง และประกาศขอความเห็นอีก 3 ครั้ง รวมเป็น 4 ครั้ง เรียกว่า ญัตติจตุถกรรม เช่นการให้อุปสมบท
2.4 สิทธิของภิกษุผู้เข้าประชุม ภิกษุผู้เข้าประชุมทำสังฆกรรมทุกรูปมีสิทธิแสดงความคิดเห็นทั้งในทางเห็นด้วยและในทางคัดค้าน ตามปกติเมื่อภิกษุผู้ประกาศ หรือพระคู่สวดถามความคิดเห็นของที่ประชุม ถ้าเห็นด้วยให้ใช้วิธีนิ่ง ถ้าไม่เห็นด้วยให้คัดค้านขึ้น จะต้องทำความเข้าใจกันจนกว่าจะยอมเห็นด้วยและมติที่ประชุมต้องเป็นเอกฉันท์
2.5 มติที่ประชุม การทำสังฆกรรมทั้งหมด มติที่ประชุมต้องเป็นเอกฉันท์ คือ เป็นที่ยอมรับของภิกษุทุกรูป ในบางกรณีภิกษุมีความเห็นแตกต่างกันเป็น 2 ฝ่าย และมีจำนวนมากด้วยกัน ต้องหาวิธีระงับด้วยวิธีจับฉลากหรือลงคะแนนเสียง ฝ่ายไหนได้เสียงข้างมากก็ตัดสินไปตามเสียงข้างมากนั้น วิธีนี้เรียกว่า เยภุยยสิกา การถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
 เรื่องที่ 2 หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์


                ในการศึกษาเกี่ยวกับหลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์นั้นพึงเข้าใจก่อนว่าในความ
เป็นจริงนั้นเราไม่อาจเปรียบเทียบกันได้อย่างตรงไปตรงมา เพราะหลักวิทยาศาสตร์ศึกษา เรื่องที่เป็นวัตถุที่สามารถสร้างเครื่องมือศึกษาได้ง่ายกว่า กล่าวโดยสรุปคือ วิทยาศาสตร์ศึกษาเฉพาะเรื่องในโลกแห่งวัตถุ ส่วนพระพุทธศาสนาเน้นเรื่องทางจิตใจหรือโลกแห่งจิตใจ เครื่องมือที่ใช้ในวิทยาศาสตร์ทั่วไปนั้นไม่อาจนำมาใช้กับเรื่องจิตใจแบบพระพุทธศาสนาได้ แต่อย่างไรก็ตามในการศึกษาโดยหลักการทั่วไป เราก็อาจศึกษาเปรียบเทียบกันในประเด็นสำคัญๆ โดยสรุปดังนี้
1. หลักความเชื่อ หลักคำสอนในพระพุทธศาสนาไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆ แต่ให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองอย่าง
รอบคอบ หรือให้ใช้วิจารณญาณพิจารณาอย่างตรงไปตรงมาก่อนแล้วจึงเชื่อ หลักความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ชาวพุทธรู้จักกันดี คือ หลักความเชื่อตามแนวกาลามสูตร ที่เน้นหลักการว่าไม่ให้เชื่อเพียงเพราะสิ่งทั้งหลายมีผู้เล่ามาอย่างนั้นอย่างนี้ แม้ผู้พูดนั้นเป็นครูอาจารย์ของตน แต่ให้เชื่อหลังจากที่ได้พิจารณาเห็นคุณเห็นโทษ และเห็นประโยชน์ดีแล้ว ในทำนองเดียวกัน หลักการทางวิทยาศาสตร์ก็ไม่ให้เชื่ออะไรอย่างงมงาย จนกว่าจะได้พิสูจน์แล้ว ทดลองเห็นผลอย่างชัดเจนมาแล้ว
2. หลักเหตุผล เหตุผลเป็นหัวใจของวิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาเดียวที่สอนเน้น
เหตุผล ดังที่ปรากฏอยู่ในปฐมเทศนาของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ เรื่อง อริยสัจ 4 คือ
ทุกข์ อันเป็นส่วนผลที่เกิดมาจากสมุทัย อันเป็นสาเหตุ และนิโรธ คือความดับทุกข์เป็นส่วนผลที่เกิดจากมรรคมีองค์ 8 อันเป็นวิธีการปฏิบัติที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา อันเป็นส่วนเหตุ กล่าวโดยสรุปได้ว่า พระพุทธศาสนาเน้นการสอนเหตุผลในการเกิดและการดับสิ้นไปแห่งสิ่งทั้งหลาย หลักการสอนนี้เน้นอีกว่า สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนมาจากสาเหตุ ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือเกิดขึ้นโดยอำนาจการดลบันดาลของเทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ในส่วนของวิทยาศาสตร์ก็ถือหลักหลักเหตุผลทำนองเดียวกันนี้ ซึ่งเชื่อว่าสิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุ บางกรณีเห็นผลปรากฏแล้วจึงสาวไปหาเหตุ และบางกรณีก็หาสาเหตุก่อน แล้วจึงนำไปศึกษาจนได้ผลสรุป ซึ่งวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั้นมีขั้นตอนโดยสรุป ดังนี้
1. การกำหนดปัญหาหรือสิ่งที่สงสัย
2. การตั้งสมมุติฐาน
3. การพิสูจน์สมมุติฐาน โดยการทดลองและเก็บข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
5. การสรุปผล
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อยืนยันว่าทั้งพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ต่างยึดหลักเหตุผลเหมือนกันแต่ที่น่าอัศจรรย์ก็คือ พระพุทธศาสนานั้นเกิดก่อนวิทยาศาสตร์มาก เพราะวิทยาศาสตร์เพิ่งมีอายุไม่เกิน 500 ปีมานี่เอง
3. หลักการความเป็นสากลของสิ่งทั้งหลาย พระพุทธองค์ทรงค้นพบหลักที่เป็นสากลของสิ่งทั้งหลาย
ที่มีความหมายอย่างเดียวกับเรื่อง “กฎทางธรรมชาติ” พระองค์ทรงสอนว่าพระพุทธองค์ไม่ได้สร้างกฎขึ้นมาเอง กฎนี้มีอยู่แล้วในตัวมันเอง ไม่ว่าจะมีผู้ค้นพบหรือไม่ก็ตาม มันก็จะดำรงอยู่เช่นนั้นตราบนานเท่านาน กฎนี้ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า กฎไตรลักษณ์ ที่เรียกว่าไตรลักษณ์เพราะมีองค์ประกอบ 3 อย่าง แต่ละอย่างก็มีลักษณะเฉพาะตัว ได้แก่
กฎแห่งความไม่เที่ยง (อนิจจตา)
กฎแห่งความเป็นทุกข์ (ทุกขตา)
กฎแห่งความไม่มีตัวตน (อนัตตา)
กฎไตรลักษณ์นี้ชาวพุทธทั่วไปเรียกสั้นๆ ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ส่วนวิทยาศาสตร์ทั่วไปก็แสวงหา และพิสูจน์ทดลองและค้นพบกฎทำนองเดียวกันนี้ โดยเฉพาะ
กฎข้อที่ 3 คือ กฎแห่งความไม่มีตัวตน ซึ่งตรงกับข้อค้นพบที่ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในโลกแห่งวัตถุนั้น เมื่อทอนจนถึงขั้นสุดท้ายแล้ว คงเป็นเพียงพลังงานชนิดหนึ่งเท่านั้น เช่นที่เราเคยได้ศึกษามาเรื่องพลังงานปรมาณูที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ มากมายในปัจจุบัน พระพุทธองค์ได้ทรงค้นพบกฎอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันมีความเป็นสากลในสรรพสิ่งทั้งหลายนานกว่า 2,500 ปีมาแล้ว จึงเป็นเรื่องทันยุคทันสมัยอีกเรื่องหนึ่ง
4. หลักการปฏิกิริยาลูกโซ่ คำว่า “ปฏิกิริยาลูกโซ่” (Chain Reaction) เป็นคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ที่มี
ความหมายว่า มีสิ่งหนึ่งก็ยังผลให้มีอีกสิ่งหนึ่ง ความหมายของคำนี้ก็คล้ายกับในเรื่องหลักการแห่งเหตุผล แต่ต่างกันที่ปฏิกิริยาลูกโซ่นั้นมีความเป็นเหตุเป็นผลหลายต่อ ตัวอย่างในคำสอนทางพระพุทธศาสนาเรื่อง กฎแห่งกรรม ที่ว่าด้วยเรื่องวัฏฏะ 3 อันมีหลักการว่า ที่มนุษย์เรามีการเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ที่เรียกว่า วงกลมแห่งสังสารวัฏ เพราะมนุษย์ยังมี กิเลส กิเลสจะผลักดันให้มนุษย์ทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง กรรมที่มนุษย์ทำนั้นจะให้ผลหรือวิบาก อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ไม่ว่าวิบากนั้นจะให้ผลออกมาอย่างไรก็จะเป็นแรงผลักดันให้มนุษย์ทำกรรมอีกเรื่อยไปไม่สิ้นสุด กรรมนั้นก็จะให้ผลเป็นวิบากอีก วิบากนั้นก็จะส่งผลเป็นแรงผลักดันให้เริ่มทำกรรมเรื่อยไป จึงสรุปว่าตราบใดที่ยังมีกิเลส มนุษย์เราก็จะต้องวนเวียนทำกรรมซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งจะต้องรับวิบากกรรมซ้ำแล้วซ้ำอีกเช่นนี้เรื่อยไปทำนองเดียวกับปฏิกิริยาลูกโซ่
  เรื่องที่ 3 การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนากับการคิดตามหลักวิทยาศาสตร์

                จากการได้ศึกษาวิเคราะห์สาระสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ในตอนต้นนั้น เราได้พบหลักการสำคัญที่คล้ายกันระหว่างพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ ดังนั้น ในตอนนี้เราก็อาจนำเอาหลักการนั้นมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการคิดของเราเอง อันได้แก่
1. การคิดตามแนวหลักความเชื่อ โดยยึดหลักการที่ว่าในการดำเนินชีวิตประจำวันก็ดี ในการ
ประกอบอาชีพก็ดี ในการติดต่อกับบุคคลต่างๆก็ดี มักจะมีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่จะต้องตัดสินใจว่าควรทำหรือไม่ควรทำ หรือมีคุณมีโทษและมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์อยู่เป็นประจำ ดังนั้นการมีวิจารณญาณว่าควรเชื่อได้เพียงใด จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งแม้ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ
2. การคิดตามแนวหลักแห่งเหตุผล “ควรมีเหตุผล” ตามหลักการของพระพุทธศาสนาถือเป็นเรื่อง
สำคัญมาก ตรงข้ามกับ “ความไม่มีเหตุผล” หรือ “ความงมงาย” คนมีเหตุผลมักจะเริ่มต้นด้วยข้อคำถามหรือมักมีความสงสัยที่แสดงออกด้วยการพูดว่าทำไม หรือเพราะเหตุใด การทำงานที่มีประสิทธิภาพ หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า จึงจำเป็นต้องใช้หลักการของเหตุผลเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในทุกเรื่อง เช่น การเรียนหนังสือ การอ่านหนังสือ การทำการบ้าน เป็นต้น ถ้าเรามีคำถามกับเรื่องที่เรากำลังศึกษาอยู่ และพิจารณาหาคำตอบจะทำให้เราเข้าใจสิ่งนั้นได้ดีกว่าที่เราศึกษาโดยไม่ใช้เหตุผล
3. การคิดตามแนวหลักความเป็นสากลของสิ่งทั้งหลาย ในวิถีชีวิตของคนเรานั้นมักจะประสบ
ในเรื่องที่ดีบ้าง เรื่องไม่ดีบ้าง บางครั้งก็ประสบกับเรื่องต่างๆ แบบที่เราไม่คาดคิดมาก่อน ถ้าประสบเรื่องดีๆ เราก็รู้สึกดีใจและภูมิใจ แต่ถ้าประสบกับเรื่องไม่ดีอย่างไม่คาดคิดที่รุนแรงและปัจจุบันทันด่วน ผู้ประสบเรื่องเช่นนี้อาจจะไม่สามารถปรับตัวได้ หรือไม่อาจทำใจได้ซึ่งจะรู้สึกเศร้าโศกเสียใจ อาจถึงขั้นคิดสั้นอยากฆ่าตัวตาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ในฐานะที่เป็นชาวพุทธ การพยายามหักใจคิดให้ได้ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา เป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ใด เกิดที่ใดและเกิดเมื่อไร ก็มีความเป็นไปได้ ถ้าเพียงแต่มีเหตุปัจจัยที่เหมาะสม มีตัวอย่างอยู่มากมายที่ก่อให้เหตุการณ์ที่เราคาดไม่ถึง เช่น มีฝนตกลงมาโดยที่แดดออก อากาศดี หรือเกิดอุบัติเหตุรถไฟชนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ทำให้ผู้ที่อยู่ในรถยนต์เสียชีวิตทั้งหมด อุบัติเหตุเช่นนี้เราไม่คาดคิดมาก่อน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การเกิดอุบัติเหตุเช่นนี้ก็มีเหตุปัจจัยที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นการพยายามคิดโดยยึดหลักธรรมดาหรือหลักความเป็นสากลของสิ่งทั้งหลาย อาจจะช่วยไม่ให้เกิดอุบัติเหตุได้ หรืออาจช่วยบรรเทาความเศร้าโศกเสียใจลงได้
4. การคิดตามแนวหลักปฏิกิริยาลูกโซ่ หากจะเปรียบเทียบลักษณะของวิธีการคิดแล้ว การคิดแบบ
ปฏิกิริยาลูกโซ่เป็นวิธีการคิดที่ยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าการคิดตามแบบเหตุผล การคิดตามแบบเหตุผลเป็นความคิดเชิงเดี่ยว หรือคิดชั้นเดียว เช่น 1+1= 2 หรือตัวอย่างเรื่องฝนตก ดินเปียก ซึ่งแปลความว่า เหตุที่ดินเปียกเพราะมีฝนตกลงมา นี่เป็นการคิดเชิงเดี่ยว ส่วนการคิดแบบปฏิกิริยาลูกโซ่นั้นจะมีความสลับซับซ้อนมาก ตัวอย่างเชิงคณิตศาสตร์ เช่น 10 = 1+2+3+4 หรือ ตัวอย่างเรื่องการคิดเรื่องฝนตกตามแบบชาวบ้านที่ว่า ฝนตกเพราะกบร้อง ที่กบร้องเพราะปวดท้อง ที่ปวดท้องเพราะกินข้าวดิบ ที่ข้าวดิบเพราะดินเปียก และที่พื้นเปียกเพราะฝนตก จะเห็นได้ว่าการคิดแบบปฏิกิริยาลูกโซ่มีความสลับซับซ้อนมาก แต่ก็มีความสมจริงอย่างมีเหตุผลนักคิดนักเขียน จินตนิยาย นวนิยายที่ประสบความสำเร็จในงานประชาสัมพันธ์จำนวนมากก็แสดงถึงการมีแนวตามแบบปฏิกิริยาลูกโซ่นี่เอง
      เรื่องที่ 4   พระพุทธศาสนาเน้นการฝึกอบรมตน การพึ่งตนเอง และการมีอิสรภาพ


               คำว่า ตน ในพระพุทธศาสนา หมายรวมถึงร่างกายและจิตใจ โดยให้ความสำคัญกับเรื่องจิตใจอันเป็นสิ่งภายในมากกว่าเรื่องร่างกายอันเป็นสิ่งภายนอก ดังที่มีคำกล่าวว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว แต่อย่างไรก็ดี พระพุทธศาสนาก็มีหลักการฝึกอบรมตนทั้งทางร่างกายและทางจิตใจควบคู่กันไปเสมอ ดังจะพบในหลักคำสอน “เรื่องไตรสิกขา” อันประกอบด้วย อธิศีลสิกขา (ศีล) อธิจิตตสิกขา (สมาธิ) อธิปัญญาสิกขา (ปัญญา) การฝึกอบรมตนตามแนวทางแห่งศีล สมาธิ และปัญญานี้ด้วยการเริ่มต้นฝึกควบคุมทางร่างกายและทางวาจา (กายกรรมและวจีกรรม) ด้วยการรักษาศีล จากนั้นให้ฝึกควบคุมจิตใจด้วยวิธีการทางสมาธิ การเจริญสมาธิจะส่งผลดีคือ ก่อให้เกิดการเจริญปัญญา (มโนกรรม) ตามมาภายหลัง
การพึ่งตนเอง เป็นหลักคำสอนที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งทางพระพุทธศาสนา โดยสาระสำคัญของหลักนี้ คือยึดหลักการที่ว่า ตนเองเป็นผู้กำหนดชีวิตตนเอง เมื่อมีปัญหาของชีวิตเกิดขึ้น ควรจะต้องพิจารณาปัญหานั้นอย่างรอบคอบ โดยเริ่มการพิจารณาด้วยตนเองก่อนที่จะมองหาที่พึ่งจากแหล่งอื่น ชาวพุทธที่ดีควรจะต้องยึดหลักการพึ่งตนเองให้มั่นคง เราเองจะต้องเป็นหลักของตนเองเสมอและจะต้องตระหนักให้แน่ชัดเสมอว่า แหล่งการพึ่งพิงที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ตนเอง และจะต้องคิดเสมอว่าเราทำได้
การมุ่งอิสรภาพ เป็นหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญยิ่งอีกหลักหนึ่ง จากการศึกษาพุทธประวัติและการค้นพบหลักพุทธธรรมในพระพุทธศาสนา ล้วนบ่งบอกว่าไม่มีหลักธรรมใดสอนให้ชาวพุทธยึดติดกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แม้แต่การสอนในการประพฤติธรรม ก็อย่าพึงยึดติดในธรรมนั้นๆ และเน้นให้ปฏิบัติธรรมอย่างมีสติปัญญากำกับเสมอๆ นั่นหมายความว่า พระพุทธศาสนาสอนเราให้มุ่งการมีอิสรภาพ คือการไม่ตกเป็นทาสของสิ่งใด บางทีเราอาจใช้คำว่า “การปลดปล่อยตนเอง” แทนคำว่า “การมุ่งอิสรภาพ” ก็น่าจะได้ เพราะถ้าเรายังหลงใหลและยึดติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากๆ ก็จะกลายเป็นทาสของสิ่งนั้นไปเหมือนกับการติดยาเสพติด เพราะยิ่งเสพก็ยิ่งติดและเมื่อเสพแล้วยังต้องการเสพมากยิ่งขึ้นไปอีก ในที่สุดเราก็ตกเป็นทาสของตัวเราเอง ดังนั้นการปฏิบัติที่ดี เราจะต้องปลดเปลื้องตัวเราเองให้ได้ และนั่นก็อยู่ในความหมายของ “การมุ่งอิสรภาพ” อย่างแท้จริง
 เรื่องที่ 5 วิธีสอน และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามแนวพุทธจริยา

       จุดประสงค์หลักในการสอนธรรมะของพระพุทธองค์นั้น คือ การสอนเพื่อให้ผู้ปฏิบัติตามได้รับประโยชน์ในปัจจุบัน (ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์) ประโยชน์ในอนาคต (สัมปรายิกัตถประโยชน์) และประโยชน์สูงสุด คือ พระนิพพาน (ปรมัตถประโยชน์) สำหรับวิธีการสอนและการเผยแผ่คำสอนของพระองค์นั้นดำเนินไปอย่างละเอียดและแยบคายมาก ซึ่งในที่นี้จะได้ศึกษาตามแนวแห่งพุทธจริยา (การบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้า) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ โลกัตถจริยา ญาตัตถจริยา และพุทธัตถจริยา


         โลกัตถจริยา หมายถึง การบำเพ็ญประโยชน์ต่อสัตว์โลก หลังจากตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่า ธรรมะที่พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นสิ่งละเอียดอ่อนยากที่ผู้อื่นจะเข้าใจได้ง่าย จึงไม่ประสงค์ที่จะประกาศพระธรรม แต่เพราะพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อสัตว์โลก จึงตัดสินพระทัยที่จะแสดงธรรม เพื่อเป็นการสงเคราะห์ในฐานะเป็นเพื่อนร่วมโลกด้วยกัน พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบอุปนิสัยของบุคคลเช่นเดียวกับดอกบัว 4 เหล่า คือ 1 ดอกบัวพ้นน้ำ พอได้รับแสงอาทิตย์ก็บาน (มีความฉลาดมาก) คือ เพียงแค่ได้ฟังหัวข้อธรรมก็เข้าใจได้ทันที 2. ดอกบัวเสมอน้ำ มีโอกาสจะบานในวันรุ่งขึ้น (มีความฉลาดพอสมควร) คือ ฟังหัวข้อธรรมแล้วอธิบายเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อยก็เข้าใจ 3. ดอกบัวใต้น้ำ รอโอกาสเติบโตและบานในวันต่อๆไป (มี ความฉลาดปานกลาง) คือ ฟังหัวข้อธรรมแล้วต้องอธิบาย อย่างละเอียดจึงจะเข้าใจ 4. ดอกบัวในโคลนตม มีโอกาส บานน้อยกว่าพวกอื่นๆ (โง่ทึบ) คือ พวกที่สอนยากมาก พระพุทธเจ้าทรงอาศัยความแตกต่างทางสติปัญญาเหล่านี้ เสด็จไปโปรดสัตว์โลกโดยใช้หลักธรรมที่เหมาะสมกับ อุปนิสัยของบุคคล พระสาวกกลุ่มแรก ได้แก่ ปัญจวัคคีย์ซึ่ง ทรงแสดงด้วยพระสูตรที่ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัฒนสูตร ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ผลก็คือท่าน อัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม และขอบวชเป็น ภิกษุ ซึ่งนับว่าเป็นพระสงฆ์รูปแรกในพระพุทธศาสนา


         ญาตัตถจริยา หมายถึง การบำเพ็ญประโยชน์ต่อพระญาติ แม้ภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว จะอยู่ในฐานะเป็นที่นับถือของชนหมู่มากแล้วก็ตาม พระองค์ยังไม่ลืมสายสัมพันธ์แห่งเครือญาติ ทรงอนุเคราะห์ช่วยเหลือพระญาติทั้งหลาย ทั้งส่วนบุคคลและกลุ่มเครือญาติตามความเหมาะสม เพื่อให้บรรลุหลักธรรมของพระองค์ เช่น เสด็จนิวัติสู่กรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพระราชบิดาและประยูรญาติ และทรงโปรดพระกุมารราหุลจนได้บรรพชาเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา นอกจากนี้พระองค์ยังเสด็จไปห้ามการพิพาทระหว่างพระญาติฝ่ายศากยะ (ฝ่ายพุทธบิดาแห่งกรุงกบิลพัสดุ์) กับฝ่ายโกลิยะ (ฝ่ายพุทธมารดาแห่งโกลิยะนคร) ซึ่งทั้งสองฝ่ายตั้งบ้านเมืองอยู่คนละริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี แล้วเกิดพิพาทกันในเรื่องน้ำที่ทดขึ้นทำนา จนถึงขั้นจะทำสงคราม แต่พระพุทธเจ้าทรงทราบก่อนจึงเสด็จไประงับเหตุไว้ได้ เป็นต้น การบำเพ็ญประโยชน์ต่อพระญาติของพระพุทธเจ้านั้นพระองค์มิได้เสด็จมาโดยทันทีเมื่อได้ตรัสรู้แล้ว แต่พระองค์ทรงรอเวลาจนพระองค์ได้เป็นที่รู้จักและเป็นที่เลื่อมใสของคนทั่วไปเสียก่อน จึงเสด็จมาโปรดพระประยูรญาติ เพราะรู้ว่าเหล่าบรรดาพระญาติมีทิฐิมาก ต้องใช้เวลาในการสอนเพื่อให้ได้ผลแก่ทุกฝ่าย ซึ่งพระองค์ได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อพระญาติอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งทำให้พระญาติและชาวเมืองกบิลพัสดุ์บวชตามอีกมากมาย และยังได้เป็นกำลังในการเผยแผ่พระศาสนาให้สืบทอดยาวนาน 


          พุทธัตถจริยา หมายถึง การบำเพ็ญประโยชน์ในฐานะพระพุทธเจ้า ภายหลังจากทรงตรัสรู้แล้ว ตลอดระยะเวลา ๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศคำสอนของพระองค์โดยไม่หยุดนิ่งในฐานะที่พระองค์เป็นประมุขหรือผู้นำของพระพุทธศาสนา อันเป็นภารกิจหลักที่จะต้องเผยแผ่หลักธรรมคำสอนที่ทรงตรัสรู้ของพระองค์เองและปกครองเหล่าคณะสงฆ์ด้วย ซึ่งทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองมั่นคงสืบมา
ภารกิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญในฐานะที่ทรงเป็นพระพุทธเจ้ามีอยู่มากมาย สรุปได้คือ
๑. ช่วยสัตว์โลกให้หลุดพ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระพุทธเจ้าทรงอุทิศพระองค์เพื่อสร้างประโยชน์สุขแก่ชาวโลก โดยทรงช่วยชี้แนะหนทางที่จะทำให้สัตว์โลกหลุดพ้นจากสงสารวัฎ (การเวียนว่ายตายเกิด) จนสามารถเข้าถึงนิพพาน อันเป็นความสุขที่แท้จริง
๒. ช่วยวางรากฐานการสร้างความดี ในกรณีที่บุคคลไม่สามารถหลุดพ้นจากสงสารวัฎได้ พระพุทธองค์ก็ทรงสั่งสอนด้วยหลักธรรมที่เป็นพื้นฐานในการทำความดีต่างๆ เช่น การให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น
๓. ช่วยปิดทางอบายมุขเพื่อมิให้บุคคลก้าวไปสู่ความเสื่อม นอกจากทรงชี้แนะทางสวรรค์นิพพานให้แก่คนที่พร้อมแล้ว ยังทรงเมตตาช่วยปิดกั้นมิให้คนบางประเภทถลำลึกลงไปสู่ทางเสื่อมอีกด้วย เช่น เสด็จไปโปรดโจรองคุลิมาล เป็นต้น
๔. ทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อความดำรงมั่นแห่ง
พระพุทธศาสนา เมื่อเริ่มประกาศพระพุทธศาสนา
ในระยะแรกๆ ยังไม่มีการบัญญัติพระวินัย หรือศีล
สำหรับพระภิกษุ แต่เมื่อเผยแผ่หลักธรรมจนมีสาวก
คือ ภิกษุมากขึ้น พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติ
พระวินัยขึ้น เพื่อควบคุมความเป็นระเบียบ
เรียบร้อยของหมู่คณะและเป็นเครื่องจรรโลง
พระพุทธศาสนาให้ดำรงมั่นคงยืนยาว
๕. ทรงสถาปนาสถาบันสืบทอดพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธศาสนาได้เจริญขึ้นพระองค์ได้ทรงตั้งสถาบันพุทธบริษัทขึ้น เรียกว่า “พุทธบริษัท๔” ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา พร้อมทั้งทรงวางหน้าที่ของแต่ละบริษัทที่พึงปฏิบัติ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนา


กิจกรรมที่ 5

1. จุดประสงค์หลักในการสอนธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นเพื่อประโยชน์เฉพาะใน
ปัจจุบัน
2. โลกัตถจริยา หมายถึง การบำเพ็ญประโยชน์ต่อสัตว์โลก
3. พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบนิสัยของบุคคลเช่นเดียวกับ บัว 4 เหล่า
4. บุคคลที่ฟังหัวข้อธรรมแล้ว ต้องอธิบายอย่างละเอียดจึงจะเข้าใจ คือ ดอกบัวใน
โคลนตม
5. การบำเพ็ญประโยชน์ต่อพระญาติทั้งฝ่ายศากยะและฝ่ายโกลิยะทั้ง 2 ฝ่าย ตั้ง
บ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี
6. พุทธัตถจริยา หมายถึง การบำเพ็ญประโยชน์ในฐานะพระพุทธเจ้า
7. การเสด็จไปโปรดโจรองคุลิมาล เป็นภารกิจที่ทรงช่วยวางรากฐานการสร้าง
ความดี
8. พุทธบริษัท 4 ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
9. พระพุทธเจ้าทรงชี้แนะหนทางที่จะให้สัตว์โลกหลุดพ้น สงสารวัฎ ได้แก่ ทุกข์
สมุทัย นิโรธ มรรค
10. สามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ พระกุมารราหุล
แบบประเมินหลังเรียน

หน่วยที่ 1 ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา
******************************************************************************
คำชี้แจง ให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว 

1. การกระทำในข้อใด แสดงถึงความเป็นประชาธิปไตยของพระพุทธเจ้า
      1. ทรงประกาศว่าพระองค์เป็นนักประชาธิปไตย 2. ทรงตัดสินคดีด้วยความเป็นธรรม
      3. ทรงมอบอำนาจให้แก่คณะสงฆ์                     4. ทรงสอบถามก่อนจึงตัดสินใจ
2. สมชายได้เข้าร่วมประชุมกับเพื่อนเพื่อจัดทำรายงานส่งครู เมื่อเพื่อนๆ ไม่ยอมทำตามแนวคิดของสมชาย สมชายโกรธมาก แสดงว่าสมชายเป็นคนอย่างไร
      1. ประชาธิปไตย 2. โลกาธิปไตย 3. ธรรมาธิปไตย 4. อัตตาธิปไตย
3. หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้มีความมั่นคง และเจริญก้าวหน้าต่อไป ควรเป็นข้อใด 
      1. กุศลมูล 2. โลกธรรม 8 3. สามัคคีธรรม 4. อปริหายธรรม
4. การที่มนุษย์พยายามศึกษาตนเองและสากลจักรวาลโดยอาศัยประสบการณ์ของประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือการศึกษาตามหลักการในข้อใด
      1. หลักการของพระพุทธศาสนา 2. หลักวิทยาศาสตร์ 3. หลักประชาธิปไตย 4. หลักศาสนาสากล
5. หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์ มีความแตกต่างกันในประเด็นใด
      1. จุดมุ่งหมายที่มุ่งแสวงหาความจริงที่เป็นประโยชน์แก่มวลมนุษย์
      2. ความจริงที่ค้นพบในการแสวงหาความจริง
      3. ให้ลงมือปฏิบัติในการแสวงหาความจริง
      4. พระพุทธศาสนาเน้นความจริงด้านจิตใจ วิทยาศาสตร์เน้นด้านวัตถุ
6. การที่พระพุทธศาสนามุ่งให้มนุษย์มีการฝึกอบรมตนนั้น อยู่บนรากฐานของความเชื่อในข้อใด
       1. มนุษย์มีความสามารถแตกต่างกัน 2. มนุษย์ฉลาดกว่าสัตว์
       3. มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ 4. มนุษย์กับสัตว์มีความสามารถคล้ายกัน
7. เพราะเหตุใดพระพุทธศาสนาจึงสอนให้มนุษย์พึ่งตนเอง 
      1. เพราะมนุษย์มีสติปัญญาไม่ต้องพึ่งใคร 
      2. เพราะเมื่อพระพุทธเจ้าดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วจะมาให้พึ่งไม่ได้ 
      3. เพราะพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแบบเทวนิยม 
      4. เพราะต้องการให้มนุษย์เข้าใจว่าการจะบรรลุความสำเร็จใดๆ ก็ด้วยตนเองเป็นผู้ลงมือกระทำ
8. จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาคือข้อใด
      1. เสรีภาพ 2. อิสรภาพ 3. ความเสมอภาค 4. การพึ่งตนเองได้
9. วิทยาศาสตร์ใช้หลักวิธีการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ พระพุทธศาสนาใช้หลักวิธีคิดอย่างไร
      1. หลัก “อริยสัจ 4” 2. หลักอธิปไตย 3. อปริหานียธรรม 4. หลักกาลามสูตร
10. พระจริยวัตรพระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์ในฐานะเป็นพระพุทธเจ้า คือการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยาในข้อใด 
     1. พุทธัตจริยา 2. ญาตัตถจริยา 3. โลกัตถจริยา 4. มัชฌิมาปฏิปทา
                 เฉลยแบบประเมินตนเองก่อนและหลังเรียน

เฉลยแบบประเมินตนเองหลังเรียน
ข้อ1. 3              ข้อ   6. 3
ข้อ2. 4              ข้อ   7. 4
ข้อ3. 4              ข้อ   8. 2
ข้อ4. 2              ข้อ   9. 1
ข้อ5. 4              ข้อ 10. 1

ห้องเรียนภูมิศาสตร์

ศึกษาเรื่อง GIS คลิกค่ะ
animated gifs

ห้องเรียนเศรษฐศาสตร์
animated gifsanimated gifs

ห้องเรียนพระพุทธศาสนา

ห้องเรียนเศรษฐิกิจพอเพียง

สมุดเยี่ยม
animated gifs
animated gifs

animated gifsแนะนำห้องเรียน....เครือข่าย  ห้องเรียนมีชีวิต....ครูปานใจ  ..ราชสีมาวิทยาลัย

 ห้องเรียนพลศึกษา ครูกมลanimated gifs
- เนื้อหาเรื่องพลศึกษา
- บทเรียนด้วยตนเอง
- การดูแลสุขภาพ
animated gifsห้องเรียนญี่ปุ่น ครูทิพย์วรรณ 
-  เรียนตัวอักษรฮิรางานะ คาตากานะ คำศัพท์ขั้นต้น
-  พัฒนาทักษะพูด อ่าน เขียน ภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐาน
-  ภาพกิจกรรมน่าสนใจ
 animated gifsเวปไซด์โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยanimated gifs
- แนะนำโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
- แนะนำ บุคลากร
- แนะนำ เรื่องการรับนักเรียน

                        animated gifs

 


จดหมายข่าว
ครูปานใจ
Today, there have been 1 visitors (1 hits) on this page!
โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย สพม. เขต 31 หมายเลขโทรศัพท์ 044-214557-8 Fax 044-214440 This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free